พ.ศ. 2487
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2487 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1944 MCMXLIV |
Ab urbe condita | 2697 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1393 ԹՎ ՌՅՂԳ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6694 |
ปฏิทินบาไฮ | 100–101 |
ปฏิทินเบงกอล | 1351 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2894 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 8 Geo. 6 – 9 Geo. 6 |
พุทธศักราช | 2488 |
ปฏิทินพม่า | 1306 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7452–7453 |
ปฏิทินจีน | 癸未年 (มะแมธาตุน้ำ) 4640 หรือ 4580 — ถึง — 甲申年 (วอกธาตุไม้) 4641 หรือ 4581 |
ปฏิทินคอปติก | 1660–1661 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3110 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1936–1937 |
ปฏิทินฮีบรู | 5704–5705 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2000–2001 |
- ศกสมวัต | 1866–1867 |
- กลียุค | 5045–5046 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11944 |
ปฏิทินอิกโบ | 944–945 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1322–1323 |
ปฏิทินอิสลาม | 1363–1364 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 19 (昭和19年) |
ปฏิทินจูเช | 33 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4277 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 33 民國33年 |
พุทธศักราช 2487 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1944 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1306 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
- นายกรัฐมนตรี:
เหตุการณ์
[แก้]พฤษภาคม
[แก้]- 18 พฤษภาคม - หน่วยเอสเอส (Schutzstaffel) ของนาซีเยอรมัน บุกทำลายหกหมู่บ้านทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสโลวีเนีย
มิถุนายน
[แก้]- 3 มิถุนายน - ชาร์ลส์ เดอ กูล ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส
- 4 มิถุนายน - สงครามโลกครั้งที่สอง: กรุงโรมตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร นับเป็นเมืองหลวงของฝ่ายอักษะแห่งแรกที่ถูกยึดครอง
- 5 มิถุนายน - สงครามโลกครั้งที่สอง: เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหราชอาณาจักรกว่า 1,000 ลำ หย่อนระเบิดกว่า 5,000 ตัน ถล่มกองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ประจำการบนหาดนอร์ม็องดีในการเตรียมพร้อมก่อนวันดีเดย์
- 6 มิถุนายน - ยุทธการแห่งนอร์ม็องดี เริ่มขึ้นเมื่อกองทัพสัมพันธมิตร 155,000 นาย ยกพลขึ้นบก ณ ชายหาดนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส เป็นการยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
- 13 มิถุนายน - สงครามโลกครั้งที่สอง: เยอรมันเริ่มปฏิบัติการระเบิดบินวี 1 เพื่อโจมตีประเทศอังกฤษ โดยมีระเบิด 4 ใน 11 ลูกที่โดนเป้าหมาย
- 17 มิถุนายน - ประเทศไอซ์แลนด์เป็นอิสระจากเดนมาร์ก และประกาศตนเป็นสาธารณรัฐ
- 22 มิถุนายน - สงครามโลกครั้งที่สอง: โซเวียตเริ่มปฏิบัติการบากราติออน ณ เบรารุส เพื่อทำลายกลุ่มกองทัพกลางของเยอรมัน
กรกฎาคม
[แก้]- 7 กรกฎาคม - ทหารญี่ปุ่นที่เกาะไซปันยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นหลายคนฆ่าตัวตาย
- 9 กรกฎาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพสหราชอาณาจักรและแคนาดาเข้ายึดครองเมืองก็องของฝรั่งเศสในยุทธภูมินอร์ม็องดี
- 20 กรกฎาคม - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ รอดชีวิตจากการถูกลอบสังหาร ซึ่งเกี่ยวพันกับความพยายามก่อรัฐประหารในแผนลับ 20 กรกฎาคม
สิงหาคม
[แก้]- 1 สิงหาคม - จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี, พันตรี ควง อภัยวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
- 1 สิงหาคม - การจลาจลในวอร์ซอต่อต้านการยึดครองโดยนาซี เริ่มต้นในประเทศโปแลนด์
- 4 สิงหาคม - การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซีเยอรมัน: ตำรวจลับเกสตาโปพบ แอนน์ แฟรงค์ และครอบครัว ชาวยิวที่หลบซ่อนตัวจากทหารเยอรมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในกรุงอัมสเตอร์ดัม
- 5 สิงหาคม - การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซีเยอรมัน: กบฏชาวโปแลนด์เข้าปลดปล่อยนักโทษชาวยิว 348 คน ในค่ายคนงาน ณ กรุงวอร์ซอ
- 24 สิงหาคม - จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ตุลาคม - ธันวาคม
[แก้]- 17 ตุลาคม - ทหารสหรัฐยกพลขึ้นบกที่แหลมเดโซเลซัน ฟิลิปปินส์ เพื่อปลดปล่อยฟิลิปปินส์จากการยึดครองของญี่ปุ่น
- 25 ธันวาคม - สหรัฐยึดเกาะเลย์เตคืนจากญี่ปุ่นได้ทั้งหมด
ไม่ทราบวัน
[แก้]- ค้นพบ ธาตุอะเมริเซียม และ คูเรียม
- เกิดเหตุการณ์ การปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียส
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม
- จิมมี ฮาร์ต ผู้จัดการและผู้จัดการส่วนตัวนักมวยปล้ำอาชีพและนักดนตรีชาวอเมริกัน
- อับดุล ฮามิด ประธานาธิบดีบังกลาเทศคนที่ 16
- อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร ประธานาธิบดีของประเทศซูดาน
- 2 มกราคม
- สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ประธานรัฐสภาของกัมพูชา
- สงวน พงษ์มณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลำพูน
- 7 มกราคม - ชดช้อย โสภณพนิช นักพัฒนาชุมชน
- 9 มกราคม
- จิมมี เพจ นักกีตาร์ นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ชาวอังกฤษ
- เพิ่มพล เชยอรุณ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย (เสียชีวิต 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534)
- 17 มกราคม
- กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ
- ปรีชา สินประยูร นักกีฬาหมากรุกไทย และหมากรุกสากลชาวไทย
- 18 มกราคม - พอล คีตติง นักการเมืองออสเตรเลีย
- 19 มกราคม
- ทอม เมย์น สถาปนิกชาวอเมริกัน
- ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- 20 มกราคม - นัสเซอร์ อาคาอี นักมวยสากลสมัครเล่นชาวอิหร่าน (เสียชีวิต 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
- 25 มกราคม
- โทรุ เอะโมะริ นักแสดง, นักพากย์เสียง, และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น
- ธิดา ถาวรเศรษฐ นักวิชาการชาวไทย
- เบอร์นาร์ด ชูมี สถาปนิก นักเขียน และนักศึกษาศาสตร์
- 28 มกราคม - กังวาลไพร ลูกเพชร นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
กุมภาพันธ์
[แก้]- 2 กุมภาพันธ์
- เจ้าหญิงมาเรีย เบียทริซแห่งซาวอย
- ออคิล ออคีลอฟ นักการเมืองทาจิกิสถาน
- 5 กุมภาพันธ์
- โนบุโอะ ชิบะ แชมป์นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- 15 กุมภาพันธ์ - ฟราห์ยา อัลอะห์มัด (สิ้นพระชนม์ 13 สิงหาคม 2561)
- 23 กุมภาพันธ์ - ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
มีนาคม
[แก้]- 3 มีนาคม - ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ นักอนุรักษ์ธรรมชาติ (เสียชีวิต 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551)
- 4 มีนาคม - ศรคีรี ศรีประจวบ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เสียชีวิต 30 มกราคม พ.ศ. 2515)
- 11 มีนาคม - แทน นครปฐม นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 12 มีนาคม - อ็องเดร เดอวาก นักแข่งรถจักรยานยนต์มืออาชีพชาวฝรั่งเศส (เสียชีวิต 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561)
- 13 มีนาคม - คริส โรเบิตส์ (นักร้อง) นักร้องและนักแสดงชาวเยอรมัน (เสียชีวิต 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2534)
- 15 มีนาคม - สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ
- 20 มีนาคม - จารุภัทร เรืองสุวรรณ อดีตกรรมการการเลือกตั้ง
- 21 มีนาคม - ทิโมธี แดลตัน นักแสดงชาวเวลส์
- 25 มีนาคม - เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- 26 มีนาคม
- ไดอาน่า รอสส์ นักร้องชาวอเมริกัน
- มะโกะ มิโดะริ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น
- 29 มีนาคม - นานา อาคูโฟ-แอดโด ประธานาธิบดีของประเทศกานา
เมษายน
[แก้]- 5 เมษายน - ดวงใจ พิจิด รองนายกรัฐมนตรีลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ (เสียชีวิต 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
- 7 เมษายน - แกร์ฮาร์ด ชเรอเดอร์ นักการเมืองชาวเยอรมัน นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนี
- 12 เมษายน - ทองสิง ทำมะวง อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศลาว
- 14 เมษายน - เหงียน ฟู้ จ่อง ประธานาธิบดีคนที่ 9 ของประเทศเวียดนาม
- 15 เมษายน - คุนิชิเงะ คะมะโมะโตะ อดีตนักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
- 18 เมษายน - โจเซ่ มาร์ตินส์ อาเชม นักกีฬาชาวมาเก๊า (เสียชีวิต 23 กันยายน พ.ศ. 2551)
- 21 เมษายน
- ขรรค์ชัย บุนปาน นักหนังสือพิมพ์, คอลัมนิสต์
- สมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
- 22 เมษายน - พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
- 23 เมษายน - เมืองทอง สมยาประเสริฐ นักร้องเพลงลูกทุ่ง (เสียชีวิต 30 เมษายน พ.ศ. 2548)
- 24 เมษายน - สุนทร ซ้ายขวัญ อดีตรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- 26 เมษายน - ยาซูโกะ โคโนเอะ พระธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้าชายมิกะซะ
- 29 เมษายน - เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก พระราชขนิษฐาของ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และเป็นพระโสทรเชษฐภคินีใน สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ
พฤษภาคม
[แก้]- 2 พฤษภาคม - เจริญ สิริวัฒนภักดี นักธุรกิจชาวไทย
- 3 พฤษภาคม - เรอนาเตอ บลูเมอ นักแสดงหญิงชาวเยอรมัน
- 4 พฤษภาคม - ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- 5 พฤษภาคม
- พระธรรมเจดีย์ (สมคิด เขมจารี) เจ้าคณะภาค 11
- สมทัต อัตตะนันทน์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และแม่ทัพภาคที่ 1
- 6 พฤษภาคม - ทองมี มาลัย หมอลำ (เสียชีวิต 3 มกราคม พ.ศ. 2545)
- 7 พฤษภาคม - ซอนยา เบอร์นาดอตต์ (เสียชีวิต 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
- 10 พฤษภาคม - ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์
- 11 พฤษภาคม - วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมืองมุสลิม ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- 14 พฤษภาคม
- จอร์จ ลูคัส ผู้กำกับ/ผู้ผลิตภาพยนตร์ ชาวอเมริกัน
- พระเทพปัญญาเมธี (ปราชญ์ อกฺกโชโต) พระราชาคณะชั้นเทพ
- 16 พฤษภาคม - แดนนี เทรโฮ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 20 พฤษภาคม - โจ ค็อกเกอร์ นักร้องชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557)
- 24 พฤษภาคม - แพตตี ลาเบลล์ นักร้อง นักแต่งเพลงและนักแสดง ชาวอเมริกัน
- 28 พฤษภาคม - แกลดีส์ ไนต์ นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน
- 29 พฤษภาคม - จรูญ อินทจาร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- 30 พฤษภาคม
- พระเทพสิทธาจารย์ (น้อย ญาณวุฑฺโฒ) เจ้าอาวาสวัดมหาชัย (พระอารามหลวง)
- อูเว อัดเลอร์ นักปัญจกีฬาสมัยใหม่ชาวเยอรมัน
มิถุนายน
[แก้]- 1 มิถุนายน - รุ่ง แก้วแดง นักการศึกษาชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- 4 มิถุนายน - ศุภชัย ภู่งาม องคมนตรี และอดีตประธานศาลฎีกา
- 10 มิถุนายน - พระเทพเมธาภรณ์ (ประสงค์ วราสโย) เจ้าอาวาสวัดสิริกาญจนาราม
- 13 มิถุนายน - พัน กี-มุน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ
- 16 มิถุนายน - บุญถึง ผลพานิชย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- 20 มิถุนายน - บริจิตต์ ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์ พระบรมวงศานุวงศ์ราชวงศ์วินด์เซอร์ พระชายาในเจ้าชายริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์
- 21 มิถุนายน - โทนี สก็อตต์ อดีตผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555)
- 23 มิถุนายน - อมรรัตน์ แก้วไพฑูรย์ นักยิงธนูหญิงชาวไทย
- 24 มิถุนายน
- ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- อารมณ์ มีชัย อดีตครูชาวนครศรีธรรมราช (เสียชีวิต 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552)
- 26 มิถุนายน - สมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง
- 30 มิถุนายน
- ชุมพล ปัจจุสานนท์ อดีตองคมนตรี และ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- เทร์รี ฟังก์ นักมวยปล้ำอาชีพและอดีตนักแสดงชาวอเมริกัน
- ประพนธ์ วิไลรัตน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- รอเบิร์ต อัลลัน อาคเคอร์แมน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
กรกฎาคม
[แก้]- 2 กรกฎาคม - บุญเลิศ สว่างกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- 7 กรกฎาคม
- เจ้าชายนิโคลัส มกุฎราชกุมารแห่งมอนเตเนโกร
- เฟเลติ เซเวเล นายกรัฐมนตรีของประเทศตองงา
- เอ็มมานูเอล สจ๊วต มวยสากลชาวอเมริกัน
- 8 กรกฎาคม - เมา อายุทธ นักเขียนชาวกัมพูชา
- 12 กรกฎาคม - ลินจง บุญนากรินทร์ นักร้องเพลงลูกกรุงและเพลงจีนสากลชาวไทย (เสียชีวิต 30 เมษายน พ.ศ. 2558)
- 21 กรกฎาคม - จอห์น อัตตะ มิลส์ นักการเมืองและนักวิชาการด้านกฎหมายของกานา (เสียชีวิต 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
- 24 กรกฎาคม - สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- 25 กรกฎาคม - ผิน คิ้วคชา นักธุรกิจชาวไทย เจ้าของภูเก็ตแฟนตาซี และซาฟารีเวิลด์
สิงหาคม
[แก้]- 6 สิงหาคม - ฤทธิ์ ลือชา นักแสดงชาวไทย
- 7 สิงหาคม
- จอห์น โกลเวอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- โรเบิร์ต มูลเลอร์ นักกฎหมายและข้าราชการชาวอเมริกัน
- 14 สิงหาคม
- กุสุมา รักษมณี นักภาษาและวรรณคดี
- เตือนใจ นุอุปละ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- 19 สิงหาคม - เอเดรียน สมิธ สถาปนิกชาวอเมริกา
- 20 สิงหาคม
- ประจวบ ไชยสาส์น อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี (เสียชีวิต 1 เมษายน พ.ศ. 2563)
- ราชีพ คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย (เสียชีวิต 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2534)
- แหลม มอริสัน นักดนตรีชาวไทย
- 24 สิงหาคม
- ร็อกกี จอห์นสัน อดีตนักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา
- อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี อดีตประธานศาลฎีกา
- 26 สิงหาคม - เจ้าชายริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระบรมวงศานุวงศ์ราชวงศ์วินด์เซอร์
กันยายน
[แก้]- 7 กันยายน - แซม สโลน ทั้งนักหมากรุกสากลชาวอเมริกัน
- 11 กันยายน - วัฒนา เขียววิมล หัวหน้าขบวนการนวพล สมัยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- 12 กันยายน
- ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และ 7 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- แบร์รี ไวต์ โปรดิวเซอร์ นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2546)
- 15 กันยายน
- ศรีไศล สุชาตวุฒิ นักร้องเพลงลูกกรุงชาวไทย
- โยเวรี มูเซเวนี นักการเมืองชาวยูกันดา นักการเมืองชาวยูกันดา
- 16 กันยายน - โระกุโระ อิชิยะมะ แชมป์นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- 17 กันยายน - ไรน์โฮลด์ เมสเนอร์ นักปีนเขาชาวอิตาลี
- 25 กันยายน - ไมเคิล ดักลาส นักแสดง โปรดิวเซอร์ ชาวอเมริกัน
- 28 กันยายน - ริวเม อะซุมะ ศิลปิน, นักเขียน, โปรดิวเซอร์, นักแต่งเพลง, นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 30 กันยายน - ชูชีพ หาญสวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี
ตุลาคม
[แก้]- 6 ตุลาคม - ภิกษุณีธัมมนันทา ภิกษุณีชาวไทย
- 9 ตุลาคม - ช็อง ฮง-ว็อน นายกรัฐมนตรีประเทศเกาหลีใต้
- 14 ตุลาคม - พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด (มรณภาพ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563)
- 22 ตุลาคม - ประพันธ์ ด้วงชะอุ่ม นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทย
- 25 ตุลาคม - เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย ชาวไทยเชื้อสายจีน
- 29 ตุลาคม - บัญญัติ จันทน์เสนะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พฤศจิกายน
[แก้]- 1 พฤศจิกายน
- บ็อบบี ฮีแนน อดีตผู้จัดการมวยปล้ำอาชีพและผู้บรรยายชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 17 กันยายน พ.ศ. 2560)
- เราะฟีก อัลฮะรีรี นักธุรกิจมหาเศรษฐีและอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน (เสียชีวิต 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548)
- 2 พฤศจิกายน - เควิน เฮคเตอร์ อดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 6 พฤศจิกายน - เศรษฐา ศิระฉายา ศิลปินแห่งชาติ พิธีกร, นักแสดง และอดีตนักร้องชาวไทย (เสียชีวิต 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)
- 7 พฤศจิกายน - ไพรัช ธัชยพงษ์ นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- 14 พฤศจิกายน
- เฉลิม ชุ่มชื่นสุข อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ
- ชัยนันท์ เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- 17 พฤศจิกายน - แร็ม โกลฮาส สถาปนิกชาวดัตช์
- 24 พฤศจิกายน - อิบราฮิม กัมบารี สหประชาชาติ
- 26 พฤศจิกายน - โจอาคิม เจ้าชายที่ 8 แห่งมูว์รา
- 29 พฤศจิกายน - ธนิต ไตรวุฒิ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด
- 30 พฤศจิกายน - ไมค์ ทัคเกอร์ (นักขี่ม้า) นักขี่ม้าชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 28 มีนาคม พ.ศ. 2561)
ธันวาคม
[แก้]- 1 ธันวาคม - พงษ์เทพ เทศประทีป อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- 5 ธันวาคม - โอฬาร ไชยประวัติ อดีตผู้แทนการค้าไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 15 ธันวาคม - กษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- 16 ธันวาคม - นิเชา ชาวนามิเบีย (เสียชีวิต 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546)
- 27 ธันวาคม -
- มีเกล เบลัซเกซ แชมป์โลกมวยสากลชาวสเปน
- เจ้าชายอดัลเบิร์ตแห่งบาวาเรีย (ประสูติ ค.ศ. 1994)
- 31 ธันวาคม - อีเอดา มาเรีย วาร์กัส นักแสดงและนางงามชาวบราซิล
ไม่ทราบวัน
[แก้]- นิคม รายยวา นักเขียนชาวไทย
- เปลว สีเงิน นามปากกาของ (โรจน์ งามแม้น)
- โรนัลด์ เทียร์สกี อาจารย์สาขารัฐศาสตร์
- เหิง เจิ้น จักรพรรดิจีน จักรพรรดิแห่งแมนจูกัว
- ดำรง ต่ายทอง นักพากย์วิจารณ์มวยชื่อดังชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 18 มกราคม - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ประสูติ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424)
- 31 พฤษภาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย (ประสูติ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2422)
- 31 กรกฎาคม - อังตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี นักบินและนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส (เกิด พ.ศ. 2443)
- 14 ตุลาคม - แอร์วิน รอมเมิล ผู้บังคับบัญชาการกองกำลังแพนเซอร์ที่ 7