เตือนใจ นุอุปละ
เตือนใจ นุอุปละ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2487 จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2526–ปัจจุบัน) |
เตือนใจ นุอุปละ (เกิด 14 สิงหาคม พ.ศ. 2487) อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
ประวัติ
[แก้]เตือนใจ นุอุปละ เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของนายพันธ์ทอง กับนางมาลี นุอุปละ[2] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี และโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
การทำงาน
[แก้]เตือนใจ นุอุปละ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 3 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีก 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535 (กันยายน)
เตือนใจ นุอุปละ เคยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2531 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปี พ.ศ. 2535[3] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[4] และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2538
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และ 2548 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับศราวุธ เพชรพนมพร จากพรรคชาติพัฒนา และในปี พ.ศ. 2554 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 99 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5][6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในปี 2562 เตือนใจยังคงสนับสนุนงานการเมืองและการช่วยหาเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๖/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (๑ นายอาคม เอ่งฉ้วน ๒ นายพงศธร สิริโยธิน ๓ นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ ๔ นางเตือนใจ นุอุปละ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีเล่ม 110 ตอนที่ 146 วันที่ 24 กันยายน 2536
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ "ชวน" ลุยหาเสียงโค้งสุดท้ายที่สนามอุดรฯ
- ↑ "ชวน หลีกภัย" นำทีม ช่วยผู้สมัคร สส.หนองคาย เขต 1 ปชป. หาเสียงโค้งสุดท้าย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอุดรธานี
- พยาบาลชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนสตรีราชินูทิศ
- บุคคลจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
- บุคคลจากสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.