ข้ามไปเนื้อหา

มะเร็งปากมดลูก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะเร็งปากมดลูก
Location of cervical cancer and an example of normal and abnormal cells
การออกเสียง
สาขาวิชาOncology
อาการEarly: none[2]
Later: vaginal bleeding, pelvic pain, pain during sexual intercourse[2]
การตั้งต้นOver 10 to 20 years[3]
ประเภทSquamous cell carcinoma, adenocarcinoma, others[4]
สาเหตุHuman papillomavirus infection (HPV)[5][6]
ปัจจัยเสี่ยงSmoking, weak immune system, birth control pills, starting sex at a young age, many sexual partners or a partner with many sexual partners[2][4][7]
วิธีวินิจฉัยCervical screening followed by a biopsy[2]
การป้องกันRegular cervical screening, HPV vaccines, condoms[8][9]
การรักษาSurgery, chemotherapy, radiation therapy, immunotherapy[2]
พยากรณ์โรคFive-year survival rate:
68% (US)
46% (India)[10]
ความชุก570,000 new cases (2018)[11]
การเสียชีวิต311,000 (2018)[11]

มะเร็งปากมดลูกคือมะเร็งที่เกิดขึ้นจากปากมดลูก[2] ในเนื้อมะเร็งจะมีเซลล์ที่เจริญผิดปกติและสามารถรุกรานอวัยวะข้างเคียงหรือแพร่กระจายไปส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้[12] ในระยะแรกมักไม่มีอาการ[2] เมื่อลุกลามมากขึ้นอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์[2] และเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ได้[13]

สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกราว 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนปาปิลโลมา หรือ ไวรัสเอชพีวี[5][6] แต่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดมะเร็ง[3][14] ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ภูมิคุ้มกันต่ำ การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย และการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีผลน้อยมากเมื่อเทียบกับการติดไวรัส[2][4] ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งที่ค่อยๆ ใช้เวลาราว 10-20 ปีก่อนที่จะพัฒนากลายเป็นมะเร็ง[3] มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ประมาณ 90% เป็นมะเร็งชนิดเซลล์สความัส อีกประมาณ 10% เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ต่อม และยังมีชนิดอื่นๆ อีกเล็กน้อย[4] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตามด้วยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ[2] หลังจากนั้นจึงใช้การตรวจภาพรังสีทางการแพทย์เพื่อประเมินว่ามะเร็งลุกลามไปหรือไม่เพียงใด[2]

มีวัคซีนเอชพีวีสามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ 2-7 สายพันธุ์ แล้วแต่ชนิด โดยสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เกือบ 90%[9][15][16] ทั้งนี้แม้รับวัคซีนนี้แล้วก็ยังมีโอกาสเกิดมะเร็งได้อยู่ จึงยังคงแนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองตามรอบเช่นเดิม[9] การป้องกันวิธีอื่นๆ อาจทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน และการใช้ถุงยางอนามัย[8] การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการทดสอบแปปหรือการตรวจด้วยกรดอะซิติกสามารถตรวจพบรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งได้ เมื่อได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะนี้ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งได้[17] การรักษาอาจทำได้โดยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด การใช้รังสี หรือหลายวิธีประกอบกัน[2] อัตรารอดชีวิตที่ห้าปีในสหรัฐอยู่ที่ 68%[18] อย่างไรก็ดีผลลัพธ์ของการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งขณะที่วินิจฉัยได้[4]

ข้อมูลจากทั่วโลกพบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 4 ในบรรดามะเร็งทั้งหมด และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งในสตรีที่พบบ่อยเป็นอันดับ 4[3] ในปี พ.ศ. 2555 มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 528,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 266,000 คน[3] คิดเป็น 8% ของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทุกชนิดรวมกัน[19] ผู้ป่วย 70% และผู้เสียชีวิต 90% อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา[3][20] โรคนี้ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับต้นๆ ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ[17] ในขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างทั่วถึงจะมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลงมาก[21]

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

[แก้]

การเกิดมะเร็งปากมดลูก มีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์ที่อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกขึ้นได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย, มีบุตรมาก, มีประวัติเป็นกามโรค เป็นต้น แต่จากสถิติและการศึกษาค้นคว้าพบว่า มะเร็งปากมดลูกมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมาหรือเชื้อเอชพีวี (Human papilloma virus – HPV ) บริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะที่บริเวณปากมดลูก (รวมทั้งอวัยวะเพศภายนอก) แม้การติดเชื้อไวรัส HPV ที่ปากมดลูกเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในการเกิดมะเร็งปากมดลูก

โครงสร้างของปากมดลูก

[แก้]

มดลูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเป็นผนังหนา ซึ่งเป็นที่ฟูมฟักการเจริญเติบโตของทารกช่วงที่อยู่ในครรภ์ โดยปกติจะมีขนาดยาว 3 นิ้ว รูปร่างคล้ายลูกแพร์ หรือ ชมพู่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 –3 นิ้ว ที่บริเวณช่วงบนมีปากมดลูกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะขยายใหญ่ออก มดลูกแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ตัวมดลูก (body) และปากมดลูก หรือคอมดลูก บริเวณรอยต่อของทั้งสองส่วนคือ อิสธ์มัส (isthmus) ปากมดลูกจะไม่ไวต่อผิวสัมผัส แต่จะไวต่อการกดบริเวณปากมดลูกจะมีช่องเปิดเรียกว่า ช่องปากมดลูก (os) ภายในโพรงมดลูกจะกว้างแตกต่างกันในแต่ละส่วน ผนังมดลูกมี 3 ชั้น ชั้นนอกมีลักษณะบาง เรียกว่า เพอริมีเทรียม (perimetrium) ส่วนกลางเป็นกล้ามเนื้อที่หนา เรียกว่า มัยโอมีเทรียม (myometrium) และชั้นในมีเส้นเลือดและต่อมอยู่มากมาย เรียกว่า เอ็นโดมีเทรียม (endometrium) ผนังมดลูกชั้นในนี้เป็นส่วนสำคัญในการมีประจำเดือนและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo)

มะเร็งในระยะเริ่มแรก

[แก้]

เซลล์ที่ประกอบเป็นปากมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์ squamous cells and glandular มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทั้งสองชนิด การเปลี่ยนแปลงของเซล์จะค่อยเปลี่ยนจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า Precancerous ซึ่งมีด้วยกัน คือ cervical intraepithelial neoplasia (CIN), squamous intraepithelial lesion (SIL), and dysplasia.

  • Low-grade SIL หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเริ่มแรกของ รูปร่าง ขนาด และจำนวน บางครั้งอาจหายไปเองแต่ก็มีจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น High-grade SIL บางครั้งเรียก mild dysplasia
  • High-grade SILหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุมดลูกที่เปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจน ถ้าเซลล์อยู่เฉพาะปาดมดลูกเรียก moderate or severe dysplasia

มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Squamous cell ประมาณร้อยละ 80%ถึง 90% ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิด Adenocarcinomas การเปลี่ยนแปลงจาก Precancerous เป็นมะเร็งใช้เวลาเป็นปี การรักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งจะป้องกันมิให้เกิดมะเร็ง

การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม

[แก้]

เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี

อาการของมะเร็งปากมดลูก

[แก้]

มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว

  • มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
  • มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
  • มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ

มะเร็งปากมดลูกแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 0 – เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งยังไม่กระจายตัว มีวิธีรักษามะเร็งปากมดลูกระยะที่ 0 คือการผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที และตรวจร่างกายติดตามอาการต่อไป การรักษาในระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%

ระยะที่ 1 – เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูกแล้ว การรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะที่ 1 คือการผ่าตัดใหญ่ เป็นการผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ผลการรักษาได้ผลดีถึง 80%

ระยะที่ 2 – เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกโดยยังไม่ได้ลุกลามไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว การรักษา มะเร็งปากมดลูกในระยะที่ 2 นี้ ต้องทำการรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด (คีโม)

ระยะที่ 3 – ระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษาในระยะที่ 3 คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัดเช่นเดียวกันระยะที่ 2 แต่การรักษาระยะนี้จะได้ผลเพียงประมาณ 20 – 30% เท่านั้นค่ะ

ระยะที่ 4 – เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกายแล้ว การรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะที่ 4 ยังคงเป็นการให้คีโม และรักษาตามอาการเท่านั้น โดยหวังผลได้เพียงประมาณ 5-10% และมีโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกบางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1 – 2 ปี แล้วจึงเสียชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

[แก้]

ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่

  • การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
  • การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
  • การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
  • อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
  • ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
  • ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง

การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก

[แก้]

จากการทำการตรวจปากมดลูก pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็น

การรักษามะเร็งปากมดลูก

[แก้]

วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกขึ้นกับระยะของมะเร็ง ความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย และโรคทางนรีเวชอื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย

การรักษาในระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม มีวิธีการติดตามและรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น การจี้ด้วยเลเซอร์ การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด หลังจากนั้นควรตรวจติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจภายในและทำแปปสเมียร์ หรือตรวจด้วยกล้องขยาย ทุก 4 – 6 เดือน โดยรอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายไปได้เองภายใน 1 – 2 ปี

การรักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม การเลือกวิธีรักษาขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง และความพร้อมของโรงพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา

  • มะเร็งในระยะแรก รักษาโดยการตัดมดลูกออกร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานออก และจะให้การรักษาต่อด้วยรังสีรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำของโรคสูง
  • มะเร็งในระยะหลัง รักษาด้วยรังสีรักษาหรือร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

วัคซีนโรคมะเร็งปากมดลูก

[แก้]

ในการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้น แท้จริงแล้วสามารถทำได้หลายระดับ โดยระดับแรกในการป้องกันนั่นก็คือการฉีดวัคซีน ซึ่งเชื่อว่าในวิธีนี้นั้นสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ 70 เปอร์เซนต์ และนอกจากนี้การตรวจแพปสเมียร์ก็เป็นวิธีการป้องกันขั้นพื้นฐาน ซึ่งการตรวจแพปสเมียร์นั้นยังคงเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากถ้าตรวจพบในระยะแรกเริ่มก็สามารถรักษาได้ทันท่วงที ไม่ทำให้มะเร็งปากมดลูกนั้นลุกลามจนเกินที่จะแก้ไขได้ ทั้งนี่มีคำแนะนำจากจากคณะกรรมการภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าในเด็กและหญิงสาวที่มีอายุต่ำกว่า 26 ซึ่งหญิงสาวและเด็กเหล่านี้ ที่ยังไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อนนั้น สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ HIV ซึ่งโดยทั่วไปผู้หญิงที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วนั้น ควรที่จะตรวจหา มะเร็งปากมดลูก หรือแพปสเมียร์ก่อน เพราะในกลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะตรวจพบมะเร็งปากมดลูก หรือสุ่มเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติ ซึ่งด้วยเหตุนี้จะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรักษาด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในเวลาต่อมา ส่วนวัยที่อยู่ในช่วงความเหมาะสมในการรับวัคซีนเพื่อป้องกันนั้นอยู่ในผู้หญิงอายุ 9-26 ปี ซึ่งช่วงวัยนี้จะสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก

[แก้]

ถึงแม้ว่ามะเร็งปากมดลูกจะฟังดูน่ากลัว แต่ก็ยังสามารถป้องกันได้และยังสามารถลดความเสี่ยงได้ วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก - ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดดลูก โดยจะสามารถลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 70 % - งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อับที่มีคนสูบบุหรี่ประจำ - กินผักผลไม้ให้มาก - ไม่ใส่ชุดชั้นในซ้ำๆติดๆกันเป็นเวลานาน - รักษาความสะอาดช่องคลอดอย่างสม่ำเสมอ - ทำการตรวจคัดกรองเพื่อหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก เป็นประจำทุกๆปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "CERVICAL | meaning in the Cambridge English Dictionary". dictionary.cambridge.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 October 2019.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 "Cervical Cancer Treatment (PDQ®)". NCI. 2014-03-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2014. สืบค้นเมื่อ 24 June 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.12. ISBN 978-9283204299.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Cervical Cancer Treatment (PDQ®)". National Cancer Institute. 2014-03-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2014. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
  5. 5.0 5.1 Kumar V, Abbas AK, Fausto N, Mitchell RN (2007). Robbins Basic Pathology (8th ed.). Saunders Elsevier. pp. 718–721. ISBN 978-1-4160-2973-1.
  6. 6.0 6.1 Kufe, Donald (2009). Holland-Frei cancer medicine (8th ed.). New York: McGraw-Hill Medical. p. 1299. ISBN 9781607950141. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-01.
  7. Bosch FX, de Sanjosé S (2007). "The epidemiology of human papillomavirus infection and cervical cancer". Disease Markers. 23 (4): 213–27. doi:10.1155/2007/914823. PMC 3850867. PMID 17627057.
  8. 8.0 8.1 "Cervical Cancer Prevention (PDQ®)". National Cancer Institute. 2014-02-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2014. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Human Papillomavirus (HPV) Vaccines". National Cancer Institute. 2011-12-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2014. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
  10. "Global Cancer Facts & Figures 3rd Edition" (PDF). 2015. p. 9. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-22. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
  11. 11.0 11.1 Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A (November 2018). "Global cancer statistics 2018: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries". Ca. 68 (6): 394–424. doi:10.3322/caac.21492. PMID 30207593. S2CID 52188256.
  12. "Defining Cancer". National Cancer Institute. 2007-09-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
  13. Tarney CM, Han J (2014). "Postcoital bleeding: a review on etiology, diagnosis, and management". Obstetrics and Gynecology International. 2014: 192087. doi:10.1155/2014/192087. PMC 4086375. PMID 25045355.
  14. Dunne EF, Park IU (December 2013). "HPV and HPV-associated diseases". Infectious Disease Clinics of North America. 27 (4): 765–78. doi:10.1016/j.idc.2013.09.001. PMID 24275269.
  15. "FDA approves Gardasil 9 for prevention of certain cancers caused by five additional types of HPV". U.S. Food and Drug Administration. 10 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2015. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
  16. Tran NP, Hung CF, Roden R, Wu TC (2014). Control of HPV infection and related cancer through vaccination. Recent Results in Cancer Research. Vol. 193. pp. 149–71. doi:10.1007/978-3-642-38965-8_9. ISBN 978-3-642-38964-1. PMID 24008298.
  17. 17.0 17.1 World Health Organization (February 2014). "Fact sheet No. 297: Cancer". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-13. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  18. "SEER Stat Fact Sheets: Cervix Uteri Cancer". NCI. National Cancer Institute. November 10, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2014. สืบค้นเมื่อ 18 June 2014.
  19. World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 1.1. ISBN 978-9283204299.
  20. "Cervical cancer prevention and control saves lives in the Republic of Korea". World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 1 November 2018.
  21. Canavan TP, Doshi NR (March 2000). "Cervical cancer". American Family Physician. 61 (5): 1369–76. PMID 10735343. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

<references /http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/cervixcancer.htm#.VPmUEnysX7k> <references /http://www.iosociety.com. <references /https://www.bumrungrad.com/th/womens-center-obgyn-thailand/cervical-cancer?gclid>