รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิง
หน้าตา
- พระนามเดิม จักรพรรดิราชวงศ์ทรงอยู่ในราชสกุล อ้ายซินเจว๋หลัว (อักษรจีนตัวย่อ: 爱新觉罗; อักษรจีนตัวเต็ม: 愛新覺羅; พินอิน: àixīn juéluó) แต่ตามปฏิบัติของชาวแมนจู การเรียกชื่อไม่จำเป็นต้องรวมนามสกุล
- พระนามเรียกขาน และ พระนามแต่งตั้ง ส่วนมาก จักรพรรดิบางพระองค์ของจีนอาจมีพระนามเรียกขานเหมือนกันก็ได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันการสับสน จึงให้มีชื่อราชวงศ์นำหน้า ตัวอย่างเช่น จักรพรรดิเฉียนหลง มีพระนามเรียกขานว่า ชิงเกาจง
- พระนามเรียกขาน เป็นพระนามของจักรพรรดิจีนที่ตั้งขึ้นมาหลังจากจักรพรรดิพระองค์นั้น ๆ เสด็จสวรรคต
- รัชศก คือ การเรียกชื่อยุคที่จักรพรรดิแต่ละพระองค์ครองราชย์
รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิง
[แก้]พระนามที่รู้จักกันดี | พระบรมสาทิสลักษณ์/ฉายาลักษณ์ | ระยะเวลาครองราชย์ | พระนามเดิม | รัชศก | พระนามเรียกขาน (ภาษาจีน– ภาษาแมนจู) |
พระนามแต่งตั้ง |
หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1559– 30 กันยายน ค.ศ. 1626) |
ค.ศ. 1616 ↓ ค.ศ. 1626 |
นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ 努爾哈赤 (พินอิน: Nǔ'ěrhāchì) |
เทียนมิ่ง* 天命 Abkai fulingga |
เกาตี้# 高帝 Dergi |
ไท่จู่ 太祖 |
* เทียนมิ่งไม่ได้ใช่เป็นรัชศกในช่วงนั้น. # พระนามเรียนขานเดิมพระนามว่า อู่หวงตี้ หรือ จักรพรรดิผู้กล้าหาญ( 武皇帝 ; แมนจู: Horonggo), แต่ใน ค.ศ. 1662 ได้เปลี่ยนเป็น "เกาหวงตี้" หรือจักรพรรดิผู้สูงส่ง (高皇帝). | |
หวงไท่จี๋ (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1592– 21 กันยายน ค.ศ. 1643) |
ค.ศ. 1626 ↓ ค.ศ. 1643 |
หวงไท่จี๋* | เทียนฉง# 天聰 Abkai sure (1627–1636); ฉงเต๋อx |
เหวินตี้ 文帝 Genggiyen Su |
ไท่จง 太宗 |
* "หวงไท่จี๋" แปลว่า "องค์ชายหวง" เป็นตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อ และหวงไท่จี๋มีอีกพระนามหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์บางเล่มว่า อาปาไห่ (阿巴海) #เทียนฉงอาจจะไม่เคยใช้เป็นรัชศก. x หวงไท่จี๋เปลี่ยนรัชศกเป็น ฉงเต๋อ เมื่อทรงสถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดิและเปลี่ยนชื่อราชวงศ์เป็นราชวงศ์ชิง | |
จักรพรรดิซุ่นจื้อ (15 มีนาคม ค.ศ. 1638– 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1661) |
(8 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1644* ↓ ค.ศ. 1661 (18 ปี) |
ฟูหลิน 福臨 |
ซุ่นจื้อ 順治 Ijishūn dasan |
จางตี้ 章帝 Eldembure |
ซื่อจู 世祖 |
* นับตั้งแต่ ค.ศ. 1643 ถึง ค.ศ. 1650, พระราชอำนาจอยู่ในมือของ ตัวเอ่อร์กุ่น และทรงปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองเมื่อ ค.ศ. 1651 | |
จักรพรรดิคังซี (4 พฤษภาคม ค.ศ. 1654– 20 ธันวาคม ค.ศ. 1722) |
(18 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1662* ↓ ค.ศ. 1722 (61 ปี) |
เสวียนเย่ 玄燁 |
คังซี 康熙 Elhe taifin |
เหรินตี้ 仁帝 Gosin |
เซิ่งจู่ 聖祖 |
* ตั้งแต่ปี 1669, พระราชอำนาจอยู่ในมือของ 4 ผู้สำเร็จราชการ ,ผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดคือ เอ๋าไป้. | |
จักรพรรดิยงเจิ้ง (13 ธันวาคม ค.ศ. 1678– 8 ตุลาคม ค.ศ. 1735) |
(20 ธันวาคม) ค.ศ. 1722 ↓ ค.ศ. 1735 (13 ปี) |
อิ้นเจิน 胤禛 |
ยงเจิ้ง 雍正 Hūwaliyasun tob |
เซี่ยนตี้ 憲帝 Temgetulehe |
ซื่อจง 世宗 |
||
จักรพรรดิเฉียนหลง (25 กันยายน ค.ศ. 1711– 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799) |
(12 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1736 ↓ ค.ศ. 1796* (60 ปี) |
หงลี่ 弘曆 |
เฉียนตี้ 乾隆 Abkai wehiyehe |
ฉุนตี้ 純帝 Yongkiyangga |
เกาจง 高宗 |
* จักรพรรดิเฉียนหลง สละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1796 และดำรงพระยศเป็น จักรพรรดิสูงสุด หรือ ไท่ซั่งหวง (太上皇帝) การสละราชสมบัติในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงความกตัญญู ว่าจะไม่ครองราชย์นานเกินกว่าจักรพรรดิคังซี ผู้เป็นปู่ อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงดำรงพระราชอำนาจสูงสุดจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1799 หลังจากจักรพรรดิเฉียนหลงสวรรคต จักรพรรดิเจียชิ่ง จึงได้ดำรงพระราชอำนาจเต็มที่หลังจากที่เป็นจักรพรรดิแค่ในนามตั้งแต่พระบิดาสละราชสมบัติและพระองค์ขึ้นครองราชย์. | |
จักรพรรดิเจียชิ่ง (13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1760– 2 กันยายน ค.ศ. 1820) |
(9 กุมภาพันธ์)* ค.ศ. 1796 ↓ ค.ศ. 1820 (25 ปี) |
ย้งเหยี่ยน# 顒琰 |
เจียชิ่ง 嘉慶 Saicungga fengšen |
รุ่ยตี้ 睿帝 Sunggiyen |
เหรินจง 仁宗 |
* วันแรกที่ทรงขึ้นครองราชย์ตรงกับวันแรกของปีเจียชิ่งด้วย แต่ทรงมีเพียงตำแหน่ง แต่ไร้พระราชอำนาจจนพระราชบิดาสวรรคต # พระนามเดิมก่อนขึ้นครองราชย์คือ หย่งเหยี่ยน (永琰), แต่หลังขึ้นครองราชย์ ได้ทรงเปลี่ยนตัวอักษรของพระนามเป็น ย้ง (顒) เนื่องจาก ตัว 永 ("ตลอดกาล") ซ้ำกับชื่อพระนามพระเชษฐาและพระอนุชาของพระองค์ อาจจะไม่เหมาะสม. | |
จักรพรรดิเต้ากวง (16 กันยายน ค.ศ. 1782– 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850) |
(3 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1821 ↓ ค.ศ. 1850 (30 ปี) |
หมินหนิง* 旻寧 |
เต้ากวง 道光 Doro eldengge |
เฉิงตี้ 成帝 Šanggan |
เซวียนจง 宣宗 |
* ทรงพระนามเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ว่า เหมียนหนิง (綿寧), แต่ทรงเปลี่ยนเป็น หมินหนิ่ง (旻寧) เนื่องจากไม่ต้องการซ้ำพระนามกับพระเชษฐาและพระอนุชาเช่นเดียวกับพระราชบิดา | |
จักรพรรดิเสียนเฟิง (17 กรกฎาคม ค.ศ. 1831– 22 สิงหาคม ค.ศ. 1861) |
(1 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1851 ↓ ค.ศ. 1861 (11 ปี) |
อี้จู่ 奕詝 |
เสียนเฟิง 咸豐 Gubci elgiyengge |
เสี่ยนตี้ 顯帝 Iletu |
เหวินจง 文宗 |
||
จักรพรรดิถงจื้อ (27 เมษายน ค.ศ. 1856– 12 มกราคม ค.ศ. 1875) |
(30 มกราคม) ค.ศ. 1862 ↓ ค.ศ. 1875 (13 ปี) |
ไจ่ฉุน 載淳 |
ถงจื้อ* 同治 Yooningga dasan |
อี้ตี้ 毅帝 Filingga |
มู่จง 穆宗 |
* เดิมมีการใช้รัชศกก่อนเปลี่ยนปีว่า ฉีเสียง(祺祥) (Qíxiáng), แต่ด้วยบางเหตุผล รัชศกนี้จึงไม่ได้ใช้ | |
จักรพรรดิกวังซวี่ (14 สิงหาคม ค.ศ. 1871– 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) |
(6 มกราคม) ค.ศ. 1875 ↓ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1908 (34 ปี) |
ไจ่เถียน 載湉 |
กวังซวี่ 光緒 Badarangga doro |
จิ่งตี้ 景帝 Ambalinggū |
เต๋อจง 德宗 |
||
จักรพรรดิผู่อี๋ (7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906– 17 ตุลาคม ค.ศ. 1967) |
(2 ธันวาคม) ค.ศ. 1908 ↓ (17 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1912* (4 ปี) |
ผู่อี๋ 溥儀 หรือ เฮนรี่ |
เซวียนถ่ง 宣統 Gehungge yoso |
หมิงตี้ 明帝 |
ชุนจง 询宗 |
*ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2454 จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายสละราชสมบัติในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีนในขณะนั้นได้ออก "ประกาศการปฏิบัติต่อจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิงอย่างเป็นธรรมหลังจากสละราชสมบัติ" (清帝退位優待條件) ซึ่งอนุญาตให้จักรพรรดิผู่อี๋สามารถดำรงพระยศเดิมได้ และรัฐบาลสาธารณรัฐควรปฏิบัตต่อพระองค์ตามสนธิสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชื้อพระวงศ์ต่างประเทศ ประกาศฉบับนี้ออกเผยแพร่ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 |