ข้ามไปเนื้อหา

สามย่านมิตรทาวน์

พิกัด: 13°44′3″N 100°31′42″E / 13.73417°N 100.52833°E / 13.73417; 100.52833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สามย่านมิตรทาวน์
สามย่านมิตรทาวน์ logo
แผนที่
ที่ตั้ง944, 944/1 ถนนพระรามที่ 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
พิกัด13°44′3″N 100°31′42″E / 13.73417°N 100.52833°E / 13.73417; 100.52833
เปิดให้บริการ20 กันยายน พ.ศ. 2562
ผู้พัฒนาบมจ. แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (Golden Land Property Development)
ผู้บริหารงานบริษัท เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด ในกลุ่มทีซีซี
เจ้าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พื้นที่ชั้นขายปลีก222,000 ตารางเมตร (2,390,000 ตารางฟุต)
จำนวนชั้น
  • 6 ชั้น (สามย่านมิตรทาวน์มอลล์)
  • 31 ชั้น (อาคารสำนักงานมิตรทาวน์)
  • 33 ชั้น (โรงแรมและห้องชุดเพื่อการพักอาศัย Triple Y)
ที่จอดรถ1,578 คัน[1]
ขนส่งมวลชน สถานีสามย่าน
เว็บไซต์www.samyan-mitrtown.com

สามย่านมิตรทาวน์ (อังกฤษ: Samyan Mitrtown) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบริเวณหัวมุมตะวันตกเฉียงเหนือของสี่แยกสามย่าน ระหว่างถนนพระรามที่ 4 และถนนพญาไท โดย บริษัท เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจำนวน 13 ไร่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 30 ปี ภายในโครงการประกอบด้วยพื้นที่ค้าปลีก ที่อยู่อาศัย และอาคารสำนักงาน พื้นที่รวม 222,000 ตร.ม. พัฒนาโครงการโดย บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ และบริหารศูนย์การค้าโดย บริษัท เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด ซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมทุนของบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท โกลเด้น พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด[2] เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาย่านพระรามที่ 4 ของกลุ่มทีซีซี

ประวัติ

[แก้]

พื้นที่เดิมของโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ตั้งอยู่บริเวณหมอน 21-22 เป็นพื้นที่แปลงหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดสรรไว้สำหรับประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกสามย่าน มีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 1 งาน 47.5 ตารางวา[3] เดิมทีที่ดินผืนนี้เป็นที่ตั้งของตลาดสามย่าน และอาคารพาณิชย์บริเวณโดยรอบจำนวน 171 คูหา ที่ผ่านมาพื้นที่มีการใช้ประโยชน์หลายลักษณะ เช่น ที่พักอาศัย ร้านค้าสะดวกซื้อ ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป ร้านให้บริการหรือรับจ้างรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของตลาดสามย่าน ได้ตั้งอยู่บนที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณจุฬาลงกรณ์ซอย 15 ตรงข้ามโรงภาพยนตร์สามย่านรามา (เดิม) (ช่องต่อหัวมุมถนนพระราม 4 และถนนพญาไท) มีบริเวณที่ดินประมาณ 2.92 ไร่ เป็นอาคารที่ก่อสร้างมาพร้อมการทำสัญญาบูรณะปรับปรุงมีบริษัท วังใหม่ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และเริ่มเป็นกิจการตลาดเอกชน ใช้ชื่อว่า "ตลาดสามย่าน" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508

จากการพัฒนาของเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นสมควรที่จะปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้พื้นที่สูงสุด และเมื่อสัญญาเช่ากับผู้เช่ารายเดิมครบอายุสัญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับมอบพื้นที่จากผู้เช่ารายเดิม โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบในลักษณะของการเชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาและประกอบการเชิงพาณิชย์ โดยทางมหาวิทยาลัยได้มีการทำแผนการพัฒนาเขตพื้นที่พาณิชย์ เพื่อกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้สอดคล้องและกลมกลืนกันในระยะยาว โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้วิธีการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลการพัฒนาโครงการและมี บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เข้ารอบการประมูลในรอบสุดท้าย ก่อนที่ทางแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะขอถอนตัวออกจากการประมูล ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการเจรจาตรงกับยูนิเวนเจอร์เพื่อยื่นข้อเสนอขอทำสัญญาระยะยาวกับคณะรัฐมนตรี แต่ในท้ายที่สุด บริษัทที่เป็นผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินแปลงนี้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาโครงการ คือ บริษัท เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด และมอบหมายให้ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ดำเนินการพัฒนาพื้นที่[4][5]

การจัดสรรพื้นที่

[แก้]

สามย่านมิตรทาวน์ เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมแบบประสม ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม และพื้นที่ค้าปลีก โดยใช้แนวคิดสมาร์ทมิกซ์ยูส ภายในโครงการประกอบไปด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้[6][7][8]

  • บิ๊กซี ฟู้ดเพลส
  • มูจิ และมูจิ คอฟฟี คอร์เนอร์
  • โฮมโปร เอส
  • สปอร์ตเวิลด์
  • ยูนิโคล่
  • เซเว่น อีเลฟเว่น
    • คัดสรร เบเกอรี่ แอนด์ คอฟฟี่ โดยเซเว่น
  • ซี อาเซียน และมายด์ สเปซ โดย นายอินทร์
  • เอพรอน วอล์ค
  • เซเลบริตี้ ฟิตเนส โดย ฟิตเนส เฟิร์ส
  • มีเดียม แอนด์ มอร์
  • สามย่าน โค-ออป
  • ศูนย์อาหารสามย่านฟู้ดเลเจนส์ โดย เอ็มบีเค
  • โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่าน จำนวน 3 โรง (ย้ายมาจากอาร์ซีเอ)
  • สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์
  • สวนลอยฟ้าสามย่านสกายการ์เดน
  • โรงแรมและห้องชุดเพื่อการพักอาศัย ทริปเปิล วาย
  • อาคารสำนักงานมิตรทาวน์

โดยมีทางเชื่อมไปยังสถานีสามย่านของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ชั้นบี 1

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Goldenland gears up to open Samyan Mitrtown mixed-use project". The Nation. 7 August 2019. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  2. Jitpleecheep, Pitsinee (21 September 2019). "Samyan Mitrtown opens array of services". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  3. Katharangsiporn, Kanana (12 November 2019). "Golden Land keen for more mixed-use". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  4. "GOLD ผุด "สามย่าน มิตรทาวน์"บึ๊กโปรเจคต์มิกซ์ยูส". ddproperty.com. 25 August 2016. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  5. "Golden Land, TCC Asset unveil huge project". thairesidents.com. 14 June 2016. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  6. "พาส่องสามย่าน โค-ออป (SAMYAN CO-OP) พื้นที่ทำงาน-ติวหนังสือ ฟรี 24 ชม". mthai.com. MThai. 17 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  7. "Samyan Mitrtown, KBank join for 24-hour co-learning space". The Nation. 20 August 2019. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  8. "onion designs the samyan co-op as a 24-hour reading and working space in bangkok". designboom.com. 7 November 2019. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.

ดูเพิ่ม

[แก้]