สายยามาโนเตะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สายยามาโนเตะ 山手線 | |||
---|---|---|---|
JY | |||
รถจักร อี235 ซีรีส์ อีเอ็มยู มุ่งสู่ชินางาวะ และ ชิบูยะ | |||
ข้อมูลทั่วไป | |||
ที่ตั้ง | โตเกียว | ||
ปลายทาง | ชินางาวะ (วงกลม) | ||
จำนวนสถานี | 30 | ||
การดำเนินงาน | |||
รูปแบบ | ระบบขนส่งขนาดใหญ่ | ||
ผู้ดำเนินงาน | บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก | ||
ศูนย์ซ่อมบำรุง | สถานีซ่อมบำรุงทั่วไปโตเกียว (ใกล้กับสถานีรถไฟโอซากิ) | ||
ขบวนรถ | อี235 ซีรีส์ | ||
ผู้โดยสารต่อวัน | 1,097,093 คน (2015)[1] | ||
ประวัติ | |||
เปิดเมื่อ | 1 มีนาคม ค.ศ. 1885 (139 ปี 314 วัน) | ||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||
ระยะทาง | 34.5 km (21.4 mi) | ||
จำนวนทางวิ่ง | 2 | ||
รางกว้าง | 1,067 mm (3 ft 6 in) | ||
ระบบจ่ายไฟ | 1,500 V DC จ่ายไฟฟ้าเหนือหัว | ||
ความเร็ว | 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง (55 ไมล์/ชั่วโมง) | ||
|
สายยามาโนเตะ (ญี่ปุ่น: 山手線; โรมาจิ: Yamanote-sen) เป็นเส้นทางรถไฟที่คับคั่งและสำคัญที่สุดสายหนึ่งของโตเกียว ดำเนินการโดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก โดยมีเส้นทางการวิ่งเป็นวงกลมรอบเมืองโตเกียว เชื่อมต่อย่านการค้าและย่านธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ มารูโนอูจิ ยูรากูโจ/กินซะ อูเอโนะ อากิฮาบาระ ชินจูกุ ชิบูยะ และอิเกบูกูโระ มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 30 สถานี มีระยะทางทั้งหมด 34.5 กิโลเมตร สามารถเปลี่ยนเส้นทางได้หลากหลายสาย
การให้บริการ
[แก้]รถไฟเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 04:26 ถึง 01:18 ของวันถัดไป ระยะความถี่ขบวนรถไฟที่ 2 นาที ในชั่วโมงเร่งด่วน และ 4 นาที ในชั่วโมงปกติ ใช้เวลาวิ่งรอบวงกลมครบสาย 59 - 65 นาที รถไฟทุกขบวนจอดทุกสถานี
จำนวนผู้โดยสาร
[แก้]เนื่องจากรถไฟสายยามาโนเตะตั้งอยู่ใจกลางเมืองโตเกียว เป็นจุดศูนย์กลางการเดินทางผ่านในพื้นที่ย่านการค้าที่สำคัญ ทำให้มีผู้โดยสารที่คับคั่งเป็นจำนวนมาก โดยช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990[2] มีผู้โดยสารเกินความจุของขบวนรถไฟที่รองรับการให้บริการมากกว่า 250% ขณะที่ในปี ค.ศ. 2018 จำนวนดังกล่าวได้ลดลงไปต่ำกว่า 150%[3] จากการเพิ่มความถี่ของขบวนรถไฟรวมถึงการเปิดสายใหม่ที่วิ่งขนานไปกับสายยามาโนเตะ เช่น สายอูเอโนะ–โตเกียว และโตเกียวเมโทรสายฟูกูโตชิง เพื่อบรรเทาความหนาแน่น
โดยในปี ค.ศ. 2018 ความหนาแน่นของจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ 1,134,963 คน–กม. / กม. ของเส้นทาง[4] และจากการประมาณการของจำนวนผู้โดยสารต่อวันของสายยามาโนเตะที่ประเมินในการสำรวจสำมะโนการขนส่งแห่งชาติของ MLIT ปี ค.ศ. 2015 อยู่ที่ประมาณ 4 ล้านคนต่อวัน[5]
ประวัติ
[แก้]แรกเริ่มนั้นมีแผนจะเชื่อมต่อแนวเส้นทางรถไฟระหว่างสถานีชินางาวะของทางรถไฟสายหลักโทไกโดทางตอนใต้กับสถานีอูเอโนะของทางรถไฟสายหลักโทโฮกุทางตอนเหนือเข้าด้วยกัน แต่ตามบริเวณแนวเส้นทางดังกล่าวมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นทำให้การสร้างนั้นมีความยากลำบาก จึงมีการตัดแนวเส้นทางอ้อมจากสถานีชินางาวะไปทางฝั่งตะวันตก ผ่านสถานีชินจูกุไปจนถึงสถานีอากาบาเนะแทน ซึ่งบริเวณพื้นที่แนวทางรถไฟนั้นมีประชากรอาศัยอยู่น้อย โดยแนวเส้นทางดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า "สายชินางาวะ" เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1885 ซึ่งผลจากการตัดแนวเส้นทางดังกล่าว ทำให้มีระยะทางมากกว่าเส้นทางจากชินางาวะ–อูเอโนะ ถึง 4 เท่า แต่การก่อสร้างนั้นรวดเร็วกว่าและมีค่าก่อสร้างที่ถูกกว่า และเนื่องจากแต่เดิมมีจุดประสงค์เพียงเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้า ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1903 ได้เปิดเส้นทางสาขาจากสถานีอิเกบูกูโระถึงสถานีทาบาตะ มีชื่อเรียกว่า "สายโทชิมะ" ก่อนที่จะรวมทั้งสองสายเข้าด้วยกันแล้วเรียกว่า "สายยามาโนเตะ" ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1909 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1925 ทางรถไฟสายยามาโนเตะจึงเป็นทางรถไฟที่วิ่งเป็นวงกลมโดยสมบูรณ์ และแยกส่วนระหว่างสถานีอิเกบูกูโระ–สถานีอากาบาเนะออกในปี ค.ศ. 1927[6][7]
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดการแข่งขันกันระหว่างบริษัทเอกชนเพื่อสร้างทางรถไฟเชื่อมเขตชานเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วไปยังใจกลางเมือง กระทรวงการถไฟของญี่ปุ่นได้มีนโยบายไม่ให้ผู้ประกอบการเดินรถไฟเอกชนวางแนวเส้นทางเข้ามาภายในวงกลมของสายยามาโนเตะที่มีอยู่ก่อนแล้ว ด้วยสาเหตุนี้ทำให้หลายสถานีของยามาโนเตะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสายทางรถไฟที่สำคัญกับรถไฟเอกชนจำนวนมาก เช่น ทางรถไฟโอดะกีว ทางรถไฟเคโอ และทางรถไฟเซบุ ที่มีสถานีปลายทางอยู่ที่ชินจูกุ เช่นเดียวกับรถไฟสายอื่นที่มีปลายทางสิ้นสุดที่สถานีใหญ่กับสายยามาโนเตะ เช่น สถานีอิเกบูกูโระ และสถานีชิบูยะ เป็นต้น[8][9]
ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2020 ได้เปิดสถานีทาคานาวา เกตเวย์[10] เป็นสถานีที่ 30 ที่เปิดให้บริการสำหรับสายยามาโนเตะ และเคฮิง-โทโฮกุ อยู่ระหว่างสถานีชินางาวะกับสถานีทาบาจิ นอกจากนี้ยังเป็นสถานีรถไฟยามาโนเตะแห่งใหม่ล่าสุดนับตั้งแต่เปิดสถานีนิชินิปโปริ เมื่อปี ค.ศ. 1971[11][12]
รายชื่อสถานี
[แก้]- รายชื่อสถานีเรียงตามเข็มนาฬิกา จากสถานีชินางาวะ ถึงสถานีทาบะตะ, แต่ในความเป็นจริงจะเริ่มให้บริการและสิ้นซุดเส้นทางที่สถานีโอซะกิ
- ทุกสถานีตั้งอยู่ในเขตการปกครองพิเศษในโตเกียว ของ กรุงโตเกียว.
- รถไฟทุกขบวนของสายยามาโนเตะจอดรับ - ส่งผู้โดยสารทุกสถานี
- สถานีที่มีเครื่องหมาย " (R) " กำกับไว้แสดงว่าสถานีดังกล่าว สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปสายเคฮิง-โทโฮกุได้
ชื่อเส้นทาง | รหัส | สถานี | ชื่อญี่ปุ่น | ระยะทาง (กิโลเมตร) | เปลี่ยนเส้นทาง | ที่ตั้ง | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระหว่าง สถานี |
รวมทั้งสิ้น | ||||||||
ยามาโนเตะ | SGWJY25
|
ชินางาวะ | 品川 | จาก ทามาจิ 2.2 |
0.0 | มินาโตะ | |||
OSKJY24
|
โอซากิ | 大崎 | 2.0 | 2.0 | ชินางาวะ | ||||
JY23 | โกทันดะ | 五反田 | 0.9 | 2.9 | |||||
JY22 | เมงูโระ | 目黒 | 1.2 | 4.1 | โตคิว: สายเมงูโระ โตเกียวเมโทร: สายนัมโบกุ (N-01) รถไฟใต้ดินโทเอ: สายมิตะ (I-01) | ||||
EBSJY21
|
เอบิซุ | 恵比寿 | 1.5 | 5.6 | JR ตะวันออก: สายโชนัน-ชินจุกุ, สายไซเกียว โตเกียวเมโทร: สายฮิบิยะ (H-02) |
ชิบูยะ | |||
SBYJY20
|
ชิบูยะ | 渋谷 | 1.6 | 7.2 | JR ตะวันออก: สายโชนัน-ชินจุกุ, สายไซเกียว เคโอคอร์ป: สายอิโนกาชิระ โตคิว: สายเดนเอโตชิ, สายโทโยโกะ โตเกียวเมโทร: สายกินซะ (G-01), สายฮันโซมง (N-01), สายฟูกูโตชิง (F-16) | ||||
JY19 | ฮาราจูกุ | 原宿 | 1.2 | 8.4 | โตเกียวเมโทร: สายชิโยดะ (สถานีศาลเจ้าเมจิ: C-03) | ||||
JY18 | โยโยงิ | 代々木 | 1.5 | 9.9 | JR ตะวันออก: สายชูโอโซบุ รถไฟใต้ดินโทเอ: โอเอโดะ (E-26) | ||||
SJKJY17
|
ชินจูกุ | 新宿 | 0.7 | 10.6 | JR ตะวันออก: สายหลักชูโอ, สายชูโอ (รถเร็ว), สายชูโอโซบุ, สายโชนัน-ชินจุกุ, สายไซเกียว เคโอ: สายเคโอ, สายเคโอใหม่ รถไฟฟ้าโอดาเกียว: สายโอดาวาระ เซบุ: สายชินจุกุ (สถานีเซบุชินจุกุ) โตเกียวเมโทร: สายมารูโนอูจิ (M-08) รถไฟใต้ดินโทเอ: สายชินจุกุ (S-01), สายโอเอโดะ (E-27, สถานีชินจุกุ - นิชิงูชิ: E-01) |
ชินจูกุ | |||
JY16 | ชินโอคูโบะ | 新大久保 | 1.3 | 11.9 | |||||
JY15 | ทากาดาโนบาบะ | 高田馬場 | 1.4 | 13.3 | เซบุ: สายชินจุกุ โตเกียวเมโทร: สายโทไซ (T-03) | ||||
JY14 | เมจิโระ | 目白 | 0.9 | 14.2 | โทชิมะ | ||||
IKBJY13
|
อิเกบูกูโระ | 池袋 | 1.2 | 15.4 | JR ตะวันออก: สายไซเกียว, สายโชนัน-ชินจุกุ รถไฟเซบุ: สายอิเกบูกูโระ รถไฟโทบุ: สายโทโจ โตเกียวเมโทร: สายมารูโนอูชิ (M-25), สายยูรากูโช (Y-09), สายฟุกุโตะชิน (F-09) | ||||
JY12 | โอสึกะ | 大塚 | 1.8 | 17.2 | รถไฟใต้ดินโทเอ: สายโทเด็นอะระกะวะ (สถานีโอสึกะ-เอกิมาเอะ) | ||||
JY11 | ซูงาโมะ | 巣鴨 | 1.1 | 18.3 | รถไฟใต้ดินโทเอ: สายมิตะ (I-15) | ||||
JY10 | โคมาโงเมะ | 駒込 | 0.7 | 19.0 | โตเกียวเมโทร: สายนัมโบกุ (N-14) | ||||
JY09 | ทาบาตะ | 田端 | 1.6 | 20.6 | JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮกุ (R) | คิตะ | |||
โทโฮกุ สายหลัก | |||||||||
JY08 | นิชินิปโปริ | 西日暮里 | 0.8 | 21.4 | JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮะกุ โตเกียวเมโทร: สายชิโยดะ (C-16) รถไฟใต้ดินโทเอ: นิปโปะริไลน์เนอร์ (02) |
อารากาวะ | |||
NPRJY07
|
นิปโปริ | 日暮里 | 0.5 | 21.9 | JR ตะวันออก: สายโจบัน, สายเคฮินโทโฮกุ รถไฟฟ้าเคเซ: สายหลักเคเซ รถไฟใต้ดินโทเอ: นิปโปริ -โทเนริไลน์เนอร์ (01) | ||||
JY06 | อูงูอิซูดานิ | 鶯谷 | 1.1 | 23.0 | JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮกุ | ไทโต | |||
UENJY05
|
อูเอโนะ | 上野 | 1.1 | 24.1 | JR ตะวันออก: โทโกุ ชิงกันเซ็ง, โจเอะสึ ชิงกันเซ็ง, ยามางาตะชิงกันเซ็ง, อะกิตะชิงกันเซ็ง, นางาโนะชิงกันเซ็ง, สายโจบัน, สายเคฮินโทโฮะกุ (R), สายอุสึโนะมิยะ (สายหลักโทโฮะกุ), สายทะกะซะกิ รถไฟฟ้าเคเซ: สายหลัก (สถานีเคเซอุเอะโนะ) โตเกียวเมโทร: สายกินซะ (G-16), สายฮิบิยะ (H-17) | ||||
JY04 | โอกาชิมาจิ | 御徒町 | 0.6 | 24.7 | JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮกุ | ||||
AKBJY03
|
อากิฮาบาระ | 秋葉原 | 1.0 | 25.7 | JR ตะวันออก: สายชูโอโซบุ, สายเคฮินโทโฮะกุ (R) Metropolitan Intercity Railway Company: สึกุบะเอ็กซเพรส (01) โตเกียวเมโทร: สายฮิบิยะ (H-15) |
ชิโยดะ | |||
KNDJY02
|
คันดะ | 神田 | 0.7 | 26.4 | JR ตะวันออก: สายชูโอ (รถเร็ว), สายเคฮินโทโฮะกุ โตเกียวเมโทร: สายกินซะ (G-13) | ||||
TYOJY01
|
โตเกียว | 東京 | 1.3 | 27.7 | JR ตะวันออก: โทโฮะกุ ชิงกันเซ็ง, โจเอะสึ ชิงกันเซ็ง, ยะมะงะตะ ชิงกันเซ็ง, อะกิตะ ชิงกันเซ็ง, นะงะโนะ ชิงกันเซ็ง, สายเคฮินโทโฮะกุ (R), สายโทไกโด, สายชูโอ (รถเร็ว), สายโยะโกะซุกะ, สายเคโย, สายโซบุ (รถเร็ว) JR ตอนกลาง: โทไกโด ชิงกันเซ็ง โตเกียวเมโทร: สายมะรุโนะอุชิ (M-17) | ||||
โทไกโด สายหลัก | |||||||||
JY30 | ยูรากูโจ | 有楽町 | 0.8 | 28.5 | JR ตะวันออก:สายเคฮินโทโฮะกุ โตเกียวเมโทร: สายยูระกุโช (Y-18), สายฮิบิยะ (สถานีฮิบิยะ: H-07), สายชิโยดะ (ฮิบิยะ: C-09) รถไฟใต้ดินโทเอ: สายมิตะ (ฮิบิยะ: C-09) | ||||
SMBJY29
|
ชิมบาชิ | 新橋 | 1.1 | 29.6 | JR ตะวันออก: สายหลักโทไกโด, สายโยโกซูกะ, สายเคฮินโทโฮกุ โตเกียวเมโทร: สายกินซะ (G-08) รถไฟใต้ดินโทเอ: สายอาซากูซะ (A-10) Tokyo Waterfront New Transit: ยูริกาโมเมะ (U-01) |
มินาโตะ | |||
HMCJY28
|
ฮามามาสึโจ | 浜松町 | 1.2 | 30.8 | JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮกุ (R) โตเกียวโมโนเรล: สายฮาเนดะ รถไฟใต้ดินโทเอ: สายอาซากูซะ (สถานีไดมน}}: A-09), สายโอเอโดะ (ไดมอน: E-20) | ||||
JY27 | ทามาชิ | 田町 | 1.5 | 32.3 | JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮะกุ (R) | ||||
TGWJY26
|
ทาคานาวา เกตเวย์ | 高輪ゲートウェイ駅 | 1.3 | 33.6 | JR ตะวันออก:สายเคฮินโทโฮะกุ | ||||
— ↓ วนกลับไปชินางาวะ (วงนอก) ↓ — |
ขบวนรถไฟ
[แก้]ปัจจุบันรถไฟสายยามาโนเตะให้บริการด้วยรถไฟรุ่น อี235 ซีรีส์ มีจำนวนทั้งหมด 50 ขบวน ขบวนละ 11 ตู้ เริ่มทดลองนำมาวิ่งครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015[13] โดยพบปัญหาการจุดปิดประตู ก่อนนำกลับมาให้บริการอีกครั้งในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2016 ส่วนรถไฟรุ่นก่อนหน้า อี231–500 ซีรีส์ ปลดระวางเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2020[14] และศูนย์ซ่อมบำรุงตั้งอยู่ที่สถานีซ่อมบำรุงทั่วไปโตเกียว (ใกล้กับสถานีรถไฟโอซากิ)
ขบวนรถไฟในอดีต
[แก้]- เดโฮ 6100 ซีรีส์
- โมฮะ 10
- 63 ซีรีส์
- 72 ซีรีส์
- 101 ซีรีส์ (ลายสีเหลือง ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1961 – ราว ค.ศ. 1968)
- 103 ซีรีส์ (ลายสีเขียว ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1963 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1988)
- 205 ซีรีส์ (ตั้งแต่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1985 – 17 เมษายน ค.ศ. 2005)
- 321–500 ซีรีส์ (ตั้งแต่ 21 เมษายน ค.ศ. 2002 – 20 มกราคม ค.ศ. 2020)
-
63 ซีรีส์
-
72 ซีรีส์
-
103 ซีรีส์ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1985
-
205 ซีรีส์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003
-
อี231-500 ซีรีส์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สถานีของรถไฟสายยามาโนเตะ (JR ตะวันออก) (ญี่ปุ่น)
- japan-guide.com: JR สายยามาโนเตะ (อังกฤษ)
- ข้อมูลสถานีรถไฟสายยามาโนเตะ เก็บถาวร 2007-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไม่เป็นทางการ) (อังกฤษ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "路線別ご利用状況(2011~2015年度)" (PDF). JR East.
- ↑ "JR山手線上野-御徒町間が混雑率ワースト2位に-ワースト1位は総武線" (ภาษาญี่ปุ่น). หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจอุเอโนะ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "混雑率データ(平成30年度)(2011~2015年度)" (PDF). กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-20. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
- ↑ ""路線別ご利用状況(2014~2018年度)"" (PDF). JR East. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-07. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "平成27年 大都市交通センサス 首都圈報告書" (PDF). กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-25. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "山手線". weblio Online (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
- ↑ "The Yamanote Line". Medium. Joey. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
- ↑ "Tokyo's Yamanote Line: More Than You Ever Wanted To Know". DeepJapan. jdlawrence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
- ↑ "13 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "รถไฟสายยามาโนเตะ" เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจกรุงโตเกียว". tsunaguJapan. Koji Shiromoto. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
- ↑ "Introducing the newest stop on Tokyo's Yamanote Line: Takanawa Gateway". The Japan Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-08. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "New station to boost Shinagawa's international role". The Japan Times Online. MASAAKI KAMEDA (FYI). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-08. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "New Yamanote Line station eyed". The Japan Times Online. Kyodo News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "山手線新型車両、運転を中止 初日からトラブル相次ぐ". Chunichi Web. The Chunichi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
- ↑ "3代目の「黄緑の山手線」が引退 再就職先ではまだまだ現役". tetsudo. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.