ข้ามไปเนื้อหา

เรือเดินสมุทรชั้นโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1912 ณ เมืองเบลฟาสต์ เรือไททานิก (ขวา) ถูกนำออกจากอู่แห้งเพื่อเปิดพื้นที่ให้เรือโอลิมปิก (ซ้าย) เข้ารับการซ่อมแซมใบจักรที่เสียหาย
ภาพรวมชั้น
ผู้สร้าง: ฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟ, เบลฟาสต์
ผู้ใช้งาน: ไวต์สตาร์ไลน์; คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์[1]
ก่อนหน้าโดย: ชั้นเอเธนิก
สร้างเมื่อ: 1908–1914
ในราชการ: 1911–1935
วางแผน: 3
เสร็จแล้ว: 3
สูญเสีย: 2
ปลดประจำการ: 1
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน): 45,000 – 48,000 ตันกรอส
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 52,310 ตัน
ความยาว:
ความกว้าง:
  • 92 ฟุต 6 นิ้ว (28.19 เมตร)[1] (โอลิมปิกและไททานิก)
  • 94 ฟุต (28.7 เมตร) (บริแทนนิก)
  • ความสูง: 205 ฟุต (62 เมตร) จากกระดูกงูเรือถึงยอดเสากระโดง
    กินน้ำลึก: 34 ฟุต 7 นิ้ว (10.54 เมตร)[1]
    ความลึก: 64 ฟุต 9 นิ้ว (20 เมตร) จากกระดูกงูถึงด้านข้างของดาดฟ้า C
    ดาดฟ้า: 9
    ระบบพลังงาน: หม้อไอน้ำเรือแบบสกอตช์ 15 บาร์ ปลายคู่ 24 ชุด และปลายเดี่ยว 5 ชุด ได้รับการทดสอบที่แรงดัน 30 บาร์ พร้อมด้วยเครื่องจักรลูกสูบ 4 สูบ 2 เครื่อง สำหรับใบจักรนอกทั้งสองข้าง กังหันไอน้ำแรงดันต่ำ 1 เครื่องสำหรับใบจักรกลาง กำลังรวม 50,000 แรงม้า ทำกำลังสูงสุดได้ 59,000 แรงม้า[2][3][4]
    ระบบขับเคลื่อน:
    • ใบจักรข้าง 3 พวง 2 ใบ
    • ใบจักรกลาง 4 พวง 1 ใบ ในโอลิมปิกและบริแทนนิก
    • ใบจักรกลาง 3 พวง 1 ใบ ในไททานิก
    ทั้งหมดทำจากสัมฤทธิ์
    ความเร็ว:
    • ปกติ 21 นอต (39 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 24 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    • สูงสุด 23 นอต (43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 26 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    ความจุ: ผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ และลูกเรือ 3,327 คน[1]
    ลูกเรือ: 892 คน

    เรือเดินสมุทรชั้นโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic-class ocean liner) เป็นกลุ่มเรือเดินสมุทรสัญชาติบริติชจำนวน 3 ลำที่สร้างขึ้นโดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟ สำหรับบริษัทเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้แก่ อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (ค.ศ. 1911) อาร์เอ็มเอส ไททานิก (ค.ศ. 1912) และอาร์เอ็มเอส บริแทนนิก (ค.ศ. 1914) เรือทั้งสามลำถูกออกแบบมาให้เป็นเรือโดยสารขนาดใหญ่และหรูหราที่สุดในสมัยนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ไวต์สตาร์ไลน์ได้เปรียบในการแข่งขันด้านขนาดและความหรูหราในการขนส่งผู้โดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

    แม้เรือโอลิมปิกซึ่งเป็นเรือลำแรกในกลุ่มจะให้บริการได้นานถึง 24 ปีก่อนจะถูกปลดประจำการและขายเป็นเศษเหล็กในปี ค.ศ. 1935 แต่เรืออีกสองลำกลับไม่ประสบความสำเร็จในลักษณะเดียวกัน ไททานิกประสบอุบัติเหตุชนภูเขาน้ำแข็งและอับปางลงในระหว่างการเดินทางครั้งแรก ส่วนบริแทนนิกอับปางลงขณะทำหน้าที่เป็นเรือพยาบาลในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากชนกับทุ่นระเบิดนอกเกาะเคียในทะเลอีเจียน ก่อนจะเริ่มให้บริการรับส่งผู้โดยสาร

    ถึงแม้เรือสองลำในจำนวนนี้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็ถือเป็นเรือเดินสมุทรที่มีชื่อเสียงที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ทั้งเรือโอลิมปิกและเรือไททานิกต่างเคยได้รับการยกย่องว่าเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรือโอลิมปิกครองตำแหน่งเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่สร้างโดยอังกฤษเป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยเรืออาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ซึ่งเข้าประจำการในปี ค.ศ. 1936 เรื่องราวของไททานิกถูกนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย อาทิ หนังสือ ภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ ส่วนบริแทนนิกนั้นได้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดภาพยนตร์ที่มีชื่อเรื่องเดียวกันในปี ค.ศ. 2000

    จุดกำเนิดและการก่อสร้าง

    [แก้]

    ข้อมูลจำเพาะ

    [แก้]

    ความปลอดภัย

    [แก้]

    เรือชูชีพ

    [แก้]

    ภายใน

    [แก้]

    อาชีพการงาน

    [แก้]

    มรดก

    [แก้]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Maritimequest
    2. "Mark Chirnside's Reception Room: Olympic, Titanic & Britannic: Olympic Interview, January 2005". Markchirnside.co.uk. สืบค้นเมื่อ 16 July 2009.
    3. "Titanic's Prime Mover – An Examination of Propulsion and Power". Titanicology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2021. สืบค้นเมื่อ 30 October 2013.
    4. "Boiler - Scotch". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2013.