วินัย สมพงษ์
วินัย สมพงษ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | นุกูล ประจวบเหมาะ |
ถัดไป | วิชิต สุรพงษ์ชัย |
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ฝ่ายบริหารการคลัง) | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2535 | |
เลขาธิการพรรคนำไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี |
ถัดไป | ศรชัย มนตริวัต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มกราคม พ.ศ. 2486 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังธรรม (2535–2538) นำไทย (2538–2539) ประชาธิปัตย์ (2539–2543, 2550–2561) ชาติพัฒนา (2544–2547) ไทยรักไทย (2547–2549) พลังธรรมใหม่ (2561) ชาติพัฒนา (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ระวีวรรณ สมพงษ์ |
พันเอก วินัย สมพงษ์ (เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2486) ที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และเป็นนักการเมืองที่มีความซื่อสัตย์ จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า นายไม้บรรทัด[1] และริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2537
ประวัติ
[แก้]พันเอกวินัย สมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2486 จบการศึกษาจากโรงเรียนสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จ.ป.ร.) รุ่นที่ 14 จบการศึกษารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ด้านการเมือง จากมหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา โรงเรียนเสนาธิการทหารบกไทย รุ่นที่ 54 และโรงเรียนเสนาธิการทหารบกประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]พันเอกวินัย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของกรุงเทพมหานคร มาโดยตลอดโดยสังกัดพรรคพลังธรรม ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ทั้ง 2 ครั้ง และเป็น รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ฝ่ายบริหารและการคลัง) ในสมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พันเอกวินัย เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในยุครัฐบาล ชวน หลีกภัย[2] สมัยแรก มีผลงานที่โดดเด่นคือ การยกเลิกโครงการโฮปเวลล์ และการริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามผู้สมัครอิสระไม่สังกัดพรรคการเมือง ได้เบอร์ 2 แม้ไม่ชนะการเลือกตั้ง แต่ก็ได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มผู้สมัครอิสระทั้งหมด
จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 ได้เป็น ส.ส.สังกัด พรรคชาติพัฒนา ต่อมาเมื่อพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมกับ พรรคไทยรักไทย ได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548
พ.อ.วินัย สมพงษ์ มีภาพลักษณ์ที่เป็นนักการเมืองที่ สมถะ ซื่อสัตย์สุจริต จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "นายไม้บรรทัด" ในระหว่างที่เกิด วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 พ.อ.วินัย ได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยพร้อมกับได้ขึ้นปราศรัยบนเวที พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
พ.อ.วินัย สมพงษ์ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับการเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่ม 5 (ประกอบด้วยจังหวัด นครราชสีมา ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ชลบุรี และตราด) และได้รับการเลือกตั้ง
ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ พันเอกวินัย สมพงษ์ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเงา
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[4] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย
ใน พ.ศ. 2561 พันเอกวินัยได้ย้ายเข้ามาร่วมงานกับ พรรคพลังธรรมใหม่ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในนามพรรคชาติพัฒนา
ประวัติการดำรงตำแหน่ง
[แก้]ด้านการทำงาน
- ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ (เคลื่อนย้ายทางอากาศ) ในสงครามเวียดนาม
- นายทหารยุทธการ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 จังหวัดลพบุรี
- อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- บริษัทประกันชีวิตศรีอยุธยา จำกัด
- กลุ่มบริษัท สุราทิพย์ จำกัด
ด้านสังคมและการเมือง
- ผู้อำนวยการตลาดนัดจตุจักร
- เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ฝ่ายบริหารและการคลัง) สมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคพลังธรรม จากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2535 ทั้ง 2 ครั้ง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย สมัยแรก
- ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา พ.ศ. 2544[5]
- ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2548
- ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2550
- รัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2551
เกียรติประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2536 : บุคคลแห่งปีของนักเรียนเตรียมทหาร รางวัลจักรดาวด้านการเมือง
- พ.ศ. 2537 : นักบริหารจรรยาบรรณดีเด่นของสมาคมวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[8]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "... เจาะสนามโคราช...ปชป.ได้แค่"ลุ้น"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-26. สืบค้นเมื่อ 2011-07-31.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-สนามบินหนองงูเห่า-ระยอง พ.ศ. 2539 เก็บถาวร 2012-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑๕ เมษายน ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๔, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์ เก็บถาวร 2019-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.2000
- “วินัย สมพงษ์”คว่ำบาตร“แม้ว”ชี้ผู้นำไร้ความสง่างาม
- "วินัย สมพงษ์" สอนน้อง "ไททานิก" ยังล่มได้ แล้วไทยรักไทยจะไปรอดหรือ ?!?
ก่อนหน้า | วินัย สมพงษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นุกูล ประจวบเหมาะ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 50) (23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537) |
วิชิต สุรพงษ์ชัย |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- พรรคพลังธรรม
- พรรคนำไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคพลังธรรมใหม่
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา