ข้ามไปเนื้อหา

ฮัลก์ โฮแกน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hulk Hogan)
Hulk Hogan
เกิดTerry Gene Bollea
(1953-08-11) 11 สิงหาคม ค.ศ. 1953 (71 ปี)
Augusta, Georgia, U.S.
อาชีพProfessional wrestler, actor, television personality, entrepreneur, musician
ปีปฏิบัติงาน1976 (musician)
1977–2012 (wrestler)
1982–present (actor)
คู่สมรสLinda Claridge
(สมรส 1983; หย่า 2009)

Jennifer McDaniel
(สมรส 2010; หย่า 2021)

Sky Daily
(สมรส 2023)
บุตรBrooke Hogan
Nick Hogan
ญาติHorace Hogan (nephew)
ชื่อบนสังเวียนHollywood Hogan[1]
Hollywood Hulk Hogan[2]
Hulk Boulder[3]
Hulk Hogan[4]
Hulk Machine[2]
Mr. America[2]
Sterling Golden[5]
Terry Boulder[2]
The Super Destroyer[2]
ส่วนสูง6 ฟุต 7 นิ้ว (201 เซนติเมตร)[4]
น้ำหนัก302 ปอนด์ (137 กิโลกรัม)[4]
มาจากHollywood, California
(as Hollywood Hogan)
Venice Beach, California[4]
(as Hulk Hogan)
Washington, D.C.
(as Mr. America)[6]
ฝึกหัดโดยHiro Matsuda[2]
เปิดตัวAugust 10, 1977[2]
เว็บไซต์HulkHogan.com
ลายมือชื่อ

เทอร์รี จีน โบลเลีย (Terry Gene Bollea; เกิด 11 สิงหาคม ค.ศ. 1953)[2] หรือที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ ฮัลก์ โฮแกน (Hulk Hogan)[4] เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงในช่วงทศวรรษ 1980-1990 ของสมาคมเวิลด์เรสต์ลิงเฟเดเรชัน (WWF หรือ WWE ในปัจจุบัน) และเคยสังกัดสมาคม โทเทิลนอนสต็อปแอคเชินเรสต์ลิง (TNA)[7] และได้รับการบรรจุชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอีประจำปี 2005 และในปี 2015 ได้ถูกยกเลิกการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศและถูกลบประวัติในเว็บไซต์ของ WWE เนื่องจากมีคลิปเสียงที่ดูหมิ่นชาวแอฟริกา-อเมริกา ก่อนกลับมาอยู่ในหอเกียรติยศในปี 2018[1]

ประวัติ

[แก้]

โฮแกนได้มาเอาดีทางกีฬามวยปล้ำเมื่อเขาเริ่มค้นพบตัวเองอยากเป็นนักมวยปล้ำเมื่อเขาเล่นกีตาร์ให้กับ ไนท์คลับ ในต้นปี 1970 เขาเริ่มฝึกทักษะมวยปล้ำ และ ไปที่ญี่ปุ่นเพื่อไปฝึกหัดกับนักมวยปล้ำชื่อดังในญี่ปุ่นคือ Hiro Matsuda จากนั้นกลับมาที่ Venice Beach บ้านของเขา และเริ่มที่จะออกกำลังกาย จากนั้นไปปล้ำในสมาคมในชื่อ Sterling Golden จากนั้นก็เปลี่ยนเป็น Terry Boulder ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น ฮัลก์ โฮแกน ในช่วงนั้น เขามีผู้จัดการคือ "Classie" Freddie Biassie และปล้ำเป็นบทอธรรมในเวลานั้นและหลายสมาคมอิสระ

โฮแกนเป็นที่รู้จักในการปล้ำประเภทแท็กทีมคู่กับ มิสเตอร์ที ที่มีชื่อเสียงจาก ภาพยนตร์ซีรีส์ The A-Team และภาพยนตร์ ร็อกกี 3

หลังจากที่เขาเสียแชมป์โลกไป เขาก็ย้ายมาอยู่สมาคม WCW อย่างรวดเร็วในปี 1994 และโฮแกนก็สามารถคว้า แชมป์โลก WCW ไปครอง ในศึก Bash At The Beach ปี 1996 ได้ก่อตั้ง nWo ที่มี Dennis Rodman, Kevin Nash และ Scott Hall จากนั้นก็แยกกลุ่มเป็น 2 สาขา คือ nWo แดง - ดำ และ ขาว - ดำ ซึ่ง ขาว - ดำ ก็มี Hulk Hogan, Scott Norton, Brian Adam, Vincent, Scott Steiner, Bagwell และ Giant ส่วน แดง - ดำ ก็มี Kevin Nash, Scott Hall, Sting และ Lex Luger ระหว่างนั้น นักมวยปล้ำบางคนก็มีปัญหากันเองในกลุ่ม จากนั้นก็แยกทีมกันหมด กลายเป็น nWo เหมือนเดิม โฮแกนก็เริ่มมีคนเชียร์มากขึ้น ช่วงนั้น Lex Luger ก็กลับมาที่ WCW หลังจากพักไปนานเกือบ 2 ปี เพราะบาดเจ็บหลังจากเสียแชมป์ให้กับโฮแกน ในศึก HogWild ปี 1997 โฮแกนก็ได้มีโอกาสปล้ำกับ สติง ในศึก Fall Brawl ปี 1999 และ สติง ได้ร่วมมือกับ Lex Luger เพื่อนเก่าของเขาและหักหลังโฮแกน โดยเอาไม้เบสบอลตีใส่ โฮแกน และแพ้ด้วยท่า Scorpion Death Lock ไปในที่สุด ในเวลานั้นปี 2002 วินซ์ แม็กแมน ก็ได้เรียก โฮแกน กลับมาพร้อมกับ เควิน แนช และ สก็อตต์ ฮอลล์ ในนามของ nWo และไปเล่นงานทั้งเดอะ ร็อก และสโตน โคลด์ สตีฟ ออสติน และโฮแกนก็ขอท้าเจอกับ เดอะ ร็อก ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18 และโฮแกนก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ เดอะ ร็อก และกลับมาเป็นโฮแกนคนเดิมอีกครั้ง

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2014 ทาง WWE ประกาศว่า ฮัลก์ โฮแกน จะกลับมา WWE ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 โดยมาเป็นพิธีกรรับเชิญ[8] และโฮแกนก็ได้กลับมาใน WWE อีกครั้ง ในศึกรอว์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2014[9] ในเรสเซิลเมเนีย โฮแกนออกมาเปิดรายการและก็พูดถึงแมตช์ที่เขากับ Mr.T มีส่วนร่วมใน WrestleMania ครั้งแรกที่เมดิสันสแควร์การ์เด้น และตอนนี้เขาก็มาอยู่ที่ซิลเวอร์โดมเพื่อร่วม WrestleMania 30 (คนดูตะโกนบอก Hogan ว่า ซูเปอร์โดม ทำให้ Hogan ขอโทษและเรียกใหม่ให้ถูกว่าซูเปอร์โดม) Stone Cold ออกมาขัดจังหวะ และบอกว่ารู้สึกดีจังที่ได้กลับมาที่ซิลเวอร์โดมอีกครั้ง และเขาก็รู้สึกว่าอยากจะเตะก้นใครซักคน ใครก็ได้ที่อยู่บนเวทีเดียวกัน เมื่อคืนนี้เขากับ Hogan นั่งใกล้ ๆ กันในงาน Hall of Fame และเขาก็เห็น Hogan ปล้ำใน WrestleMania มาหลายปี ปราบคนมาก็เยอะ และเขาก็นับถือสิ่งที่ Hogan ทำ จากนั้น Stone Cold ก็ขอจับมือกับ Hogan และขอให้แฟน ๆ ช่วย Hell Yeah! ให้ Hogan หน่อย Stone Cold บอกว่าทั้งเขาและ Hogan ต่างก็ทุ่มเททุกอย่างเพื่อมวยปล้ำมาแล้ว ก็ขอให้สตาร์รุ่นหลัง ๆ ทุ่มเทให้เต็มที่ในคืนนี้ด้วย The Rock ออกมาอีกคน และบอกว่าในที่สุดเขาก็ได้กลับมาเยือนนิวออร์ลีนส์อีกครั้ง และก็กลับมาที่ซูเปอร์โดมด้วย The Rock บอกว่า Stone Cold กับ Hulk Hogan เป็นสองตำนานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน WWE และเขาก็เคยเจอกับทั้งคู่มาแล้วใน WrestleMania ตอนนี้เรามารวมกันเกือบครบแล้ว ขาดแต่พระเอกยุคปัจจุบันซึ่งมันคงไม่กล้าออกมาหรอกนอกจาก Hogan จะเชิญมันออกมา จากนั้นทั้ง 3 พระเอกก็พูดประโยคฮิตของตัวเอง โดย The Rock บอกว่า If you smell what the rock is cooking!?, Stone Cold บอก and that's the bottom line cause Stone Cold said so! และ Hogan ปิดท้ายว่า Watcha gonna do brothers when Hulk Hogan, Stone Cold Steve Austin, The Rock, and Superdome run wild on you!? Stone Cold เอาเบียร์มาเลี้ยงทุกคนและก็แยกย้ายกันกลับ

ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2015 WWE ประกาศไล่โฮแกนออกจากสมาคมแล้ว โดยมีการประกาศยกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการใน WWE.com[10] สาเหตุเพราะว่าโฮแกนเคยให้สัมภาษณ์ไว้กับรายการวิทยุออนไลน์แห่งหนึ่งเมื่อปี 2006 โดยใช้ถ้อยคำที่เหยียดผิวอย่างรุนแรงถูกตีแผ่ออกมา ทำให้ WWE ต้องรีบตัดความสัมพันธ์โดยด่วน สัญญาที่โฮแกนทำไว้กับ WWE นั้นเป็นสัญญาแบบ "Legend" ซึ่งไม่ใช่สถานะนักมวยปล้ำแต่จะร่วมทำธุรกิจขายสินค้ากันและอาจจะมาร่วมรายการเป็นครั้งคราว จากสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ทาง WWE ลบและถอดทุกสิ่งทุกอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโฮแกนออกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น: ลบประวัติของโฮแกนบนเว็บไซต์ WWE.COM, ถอดสินค้าของโฮแกนที่วางขายทั้งหมดออกจากเว็บไซต์ WWEShop, ถอดโฮแกนจากการเป็นหนึ่งในกรรมการผู้ตัดสินรายการเรียลลิตี ทัฟ อีนัฟ ซีซั่น6[11][12] โดย The National Enquirer และ RadarOnline เผยจากถ้อยคำถอดเทปว่าโฮแกนใช้ถ้อยคำที่เหยียดผิวอย่างรุนแรงหลายครั้ง ขณะที่กำลังพูดถึง Heather Clem หญิงสาวที่โฮแกนเคยมีเพศสัมพันธ์ด้วยจนมีวิดีโอหลุดออกมาเมื่อปี 2012 และพูดถึงบรูก โฮแกน ลูกสาวของเขาที่ตกเป็นข่าวว่าไปหลับนอนกับคนผิวสี ซึ่งโฮแกนไม่พอใจ หลังจากมีข่าวออกมาค่อนข้างหนัก ในเวลาต่อมาโฮแกนจึงออกมายอมรับกับ People.com โดยขอโทษกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมบอกว่าเสียใจและผิดหวังกับคำพูดที่น่ารังเกียจของตัวเองที่เกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เดวิด ฮูสตัน ทนายของโฮแกน ออกมาบอกความจริงแล้วว่า โฮแกนเป็นฝ่ายยุติสัญญาและขอออกจาก WWE เอง เพราะไม่อยากให้ WWE รวมถึงครอบครัวได้รับผลกับเรื่องนี้[13][14]

วันที่ 15 กรกฎาคม 2018 WWE ประกาศอย่างเป็นทางการว่าโฮแกนได้กลับมาอยู่ในหอเกียรติยศอีกครั้ง นอกจากนี้โฮแกนทวีตข้อความว่าเขาได้เข้ามาพบปะกับบรรดาสตาร์ WWE ในหลังฉากศึก Extreme Rules (2018) ด้วย PWInsider รายงานเพิ่มเติมว่าโฮแกนได้กล่าวขอโทษอย่างเป็นทางการ ขอโทษบุคคลที่ได้รับผลกระทบและขอโทษทางสมาคม โฮแกนยังแนะนำสตาร์ WWE ว่าให้ระวังคำพูดทั้งต่อหน้ากล้องและที่ไหนก็ตามอีกด้วย ซึ่งผู้คนหลังฉาก WWE ก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี โฮแกนจับมือกับนักมวยปล้ำหลายคนและโฮแกนก็รู้สึกซาบซึ้งมากๆ[15]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
ปี ภาพยนตร์ รับบทเป็น หมายเหตุ
1982 Rocky III Thunderlips
1983 Bimini Code Rick, Blond Henchman Uncredited
1984 Goldie and the Bears Mac McKenna
1985 The A-Team Himself 1 episode: ("Body Slam")
1989 No Holds Barred Rip Thomas
1990 Gremlins 2: The New Batch Himself
1991 Suburban Commando Shep Ramsey
1993 Mr. Nanny Sean Armstrong
1993 Thunder in Paradise Randolph J. Hurricane Spencer Direct-to-video
1994 Thunder in Paradise TV series
1995 Space Ghost Coast to Coast Himself Episode: "Sleeper"
1996 Baywatch Himself Episode: "Bash at the Beach"
The Secret Agent Club Ray Chase
Spy Hard Steele's other Tag-Team Member Cameo
Santa with Muscles Blake
1997 The Ultimate Weapon Cutter
Assault on Devil's Island Mike McBride
1998 McCinsey's Island Joe McGrai
3 Ninjas: High Noon at Mega Mountain Dave Dragon
1999 Assault on Death Mountain Mike McBride
Muppets from Space Himself
2001 Walker, Texas Ranger Boomer Knight 1 episode: ("Division Street")
2009 Little Hercules Zeus
2011 Gnomeo & Juliet Terrafirminator V.O.
Saints Row: The Third Angel de la Muerte Video game
2011–15 China, IL The Dean Main cast
2012 American Dad! Himself 1 episode: ("Stanny Tendergrass")
2014 The '80s Called Himself RadioShack commercial for Super Bowl XLVIII[16]

รางวัล

[แก้]
ปี รางวัล สาขา ผล หมายเหตุ
1988 Kids' Choice Awards Favorite Male Athlete ชนะ
2006 Teen Choice Awards TV – Choice Reality Star (Male) เสนอชื่อเข้าชิง Hogan Knows Best

ผลงานแชมป์และความสำเร็จ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. During Hogan's runs as champion in 1996–1997 and again in 1998–1999 (ie from his second to his fifth reign as champion), as part of the New World Order (nWo) storyline, the title was spray painted each time with the "nWo" initials and renamed as the nWo/WCW World Heavyweight Championship, while referred to by nWo members only as the nWo World Heavyweight Championship.
  2. From Hogan's second to his fifth reign, the title was renamed and known simply as the WWF Championship. Hogan's last reign was as Undisputed WWF Champion, but the title was renamed once again as the Undisputed WWE Championship on May 6, 2002 after World Wrestling Federation Entertainment, Inc. settled a lawsuit with the World Wildlife Fund, and became simply World Wrestling Entertainment. On May 19, the day he lost the championship, it was called the WWE Undisputed Championship.

อ้างอิง

[แก้]
  • Bischoff, Eric (2006). Eric Bischoff: Controversy Creates Cash. Simon and Schuster. ISBN 1-4165-2729-X.
  • Hogan, Hulk (2002). Hollywood Hulk Hogan. Simon and Schuster. ISBN 0-7434-7556-9.
  • Loverro, Thom (2006). The Rise & Fall of ECW: Extreme Championship Wrestling. Simon and Schuster. ISBN 1-4165-1058-3.
  • Shields, Brian (2006). Main Event: WWE in the Raging 80s. Simon and Schuster. ISBN 1-4165-3257-9.
  • Hogan, Hulk and Dagostino, Mark (2009). My Life Outside the Ring. St. Martin's. ISBN 0-312-58889-5.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

บันทึก

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Patrick Jones (2002). "Hulk Hogan". St. James Encyclopedia of Pop Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2007. สืบค้นเมื่อ October 25, 2007.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 "Hulk Hogan's profile". Online World of Wrestling. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 28, 2009. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 10, 2007.
  3. Eriq Gardner (May 28, 2018). "Hulk Hogan trying to bodyslam "Hulk" cereal ad". Reuters. สืบค้นเมื่อ July 15, 2019.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Hulk Hogan bio". WWE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-17. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.
  5. Wrestling Classics, January 1992 issue, p.16.
  6. Judgment Day 2003 (DVD). WWE Home Video. 2003.
  7. "Hulk Hogan Joins TNA Wrestling!". Total Nonstop Action Wrestling. October 27, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-29. สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.
  8. "Breaking news: Hulk Hogan returns to WWE!". WWE. 2014-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-02. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
  9. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 2/24: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Chamber PPV fall-out, Hogan's return, Taker's return, stage set for WM30, more". Pro Wrestling Torch. 2014-02-24. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.
  10. "WWE has terminated its contract with Terry Bollea (aka Hulk Hogan)". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-26. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  11. Caldwell, James. "Hulk Hogan removed from all-things WWE, including Tough Enough, plus Hogan posts cryptic tweet". pwtorch.com. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  12. Montag, Ali (July 24, 2015). "WWE splits with Hulk Hogan amid reported comments". CNBC.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-24. สืบค้นเมื่อ 2015-07-25.
  13. Matt Bonesteel (24 July 2015). "WWE terminates Hulk Hogan's contract, erases him from Web site (updated)". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  14. "Hulk Hogan Racist Scandal — Pro Wrestling Icon Caught On Tape Saying N-Word In Bigoted Rant About Daughter Brooke's Dating - Radar Online". Radar Online. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  15. https://www.wwe.com/article/hulk-hogan-reinstated-into-wwe-hall-of-fame
  16. Jones, Nate (กุมภาพันธ์ 2, 2014). "Celebrating Every '80s Reference in That RadioShack Super Bowl Commercial". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 28, 2017. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 25, 2017.
  17. "Induction Class 2021 | Pro Wrestling Hall of Fame". IPWHF. สืบค้นเมื่อ December 14, 2020.
  18. Kreikenbohm, Philip (June 2, 1983). "IWGP Heavyweight Championship (original version)". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  19. Kreikenbohm, Philip (June 2, 1983). "IWGP League Tournament (1983)". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  20. "The 1st International Wrestling Grand Prix Championship Tournament". Wrestling-Titles.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2007. สืบค้นเมื่อ October 21, 2007.
  21. "MSG Tag Team League". ProWrestlingHistory.com. December 10, 1982. สืบค้นเมื่อ July 30, 2010.
  22. "MSG Tag Team League". ProWrestlingHistory.com. December 8, 1983. สืบค้นเมื่อ July 30, 2010.
  23. "Professional Wrestling Hall of Fame, hall of famers". 0362dc8.netsolhost.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2016. สืบค้นเมื่อ October 22, 2016.
  24. 24.00 24.01 24.02 24.03 24.04 24.05 24.06 24.07 24.08 24.09 "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2016. สืบค้นเมื่อ November 18, 2016.
  25. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 1991". Internet Wrestling Database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2016. สืบค้นเมื่อ November 18, 2016.
  26. "Pro Wrestling Illustrated's Top 500 Wrestlers of the PWI Years". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ March 14, 2009.
  27. "PWI 500 of the PWI Years". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-01. สืบค้นเมื่อ January 16, 2019.
  28. Kreikenbohm, Philip (December 1, 1979). "NWA Southeastern Heavyweight Championship (Northern Division)". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  29. "NWA Southeastern Heavyweight Championship History at Wrestling-Titles.com". สืบค้นเมื่อ June 12, 2019.
  30. Kreikenbohm, Philip (June 6, 1979). "NWA Southeastern Heavyweight Championship (Southern Division)". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  31. The Great Hisa's Puroresu Dojo: Puroresu Awards: 1980s เก็บถาวร ตุลาคม 22, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Puroresu.com. Retrieved on May 8, 2011.
  32. The Great Hisa's Puroresu Dojo: Puroresu Awards: 1990s เก็บถาวร ตุลาคม 22, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Puroresu.com. Retrieved on May 8, 2011.
  33. Kreikenbohm, Philip (July 17, 1994). "WCW World Heavyweight Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  34. "History of the WCW World Championship". WWE.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2012. สืบค้นเมื่อ October 21, 2007.
  35. Kreikenbohm, Philip (January 23, 1984). "WWF/WWE Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  36. "History of the WWE World Heavyweight Championship". WWE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2012. สืบค้นเมื่อ October 21, 2007.
  37. Full-Length Match – SmackDown – Hulk Hogan vs. Chris Jericho – WWE Undisputed Championship Match. September 21, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2015 – โดยทาง YouTube.
  38. Kreikenbohm, Philip (July 2, 2002). "WWE Tag Team Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  39. Kreikenbohm, Philip (January 21, 1990). "Royal Rumble 1990". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  40. Kreikenbohm, Philip (January 19, 1991). "Royal Rumble 1991". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  41. "Past Rumble Winners". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2007. สืบค้นเมื่อ October 21, 2007.
  42. "Hulk Hogan Statement on Racist Rant : People.com". PEOPLE.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ July 25, 2015.
  43. Johnson, Mike (December 9, 2019). "2020 WWE HALL OF FAME CLASS HEADLINERS ANNOUNCED | PWInsider.com". www.pwinsider.com. สืบค้นเมื่อ December 10, 2019.
  44. 44.00 44.01 44.02 44.03 44.04 44.05 44.06 44.07 44.08 44.09 44.10 44.11 44.12 44.13 44.14 44.15 44.16 44.17 44.18 44.19 Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA: 1–40. ISSN 1083-9593.
  45. Milner, John. "Hulk Hogan". SLAM! Wrestling. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2015. สืบค้นเมื่อ February 5, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ฮัลก์ โฮแกน ถัดไป
ความสำเร็จ
André the Giant & René Goulet MSG Tag League winner
(1982 & 1983)
Antonio Inoki & Tatsumi Fujinami
André the Giant (MSG League) International Wrestling Grand Prix winner
(1983)
Antonio Inoki
Big John Studd Royal Rumble winner
(1990 & 1991)
Ric Flair